การวินิจฉัยมะเร็งรังไข่

ถ้าคุณอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ ควรเข้ารับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้ค้นพบโรคตั้งแต่ระยะแรก หากคุณมีอาการคล้ายกับมะเร็งรังไข่ ควรรีบทำการตรวจให้ทันเวลา บอกอาการของคุณให้แพทย์ทราบ และเข้ารับการตรวจในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยเร็ว วิธีวินิจฉัยมะเร็งรังไข่นอกจากการตรวจร่างกายโดยทั่วไปแล้ว ยังรวมถึงวิธีดังต่อไปนี้

การวินิจฉัยมะเร็งรังไข่

1.การตรวจภายใน

แพทย์ที่มีประสบการณ์จะทำการตรวจด้วยวิธีการสัมผัสมดลูก รังไข่ และส่วนต่างๆ ผ่านทางช่องคลอด เพื่อประเมินขนาดของเนื้องอก ลักษณะ พิสัยการเคลื่อนไหว และความสัมพันธ์ของอวัยวะภายในช่องท้องบริเวณรอบๆ เป็นต้น หากปรากฏอาการท้องอืดชัดเจนหรือบริเวณท้องมีก้อนขึ้นมา ก็สามารถเข้ารับการตรวจวิธีนี้ได้

2.การตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง CA-125

การตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง CA-125 มักใช้กับการตรวจวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ รวมถึงการตรวจหาและการติดตามผล มีความสำคัญอย่างมากต่อการวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว การวินิจฉัยต่อเยื่อเมือกบุภายในโพรงมดลูกมีความแม่นยำสูงถึง 80% ขึ้นไป แต่ผลการตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง CA-125 ที่มีความผิดปกติก็ไม่ได้ความว่าจะเป็นมะเร็งรังไข่เสมอไป เนื่องจากโรคในผู้หญิงบางอย่าง เช่น ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบเฉียบพลัน โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ก็อาจจะปรากฏผลการตรวจสารบ่งชี้ CA-125 ที่สูงขึ้นได้

3.การตรวจชิ้นเนื้อ

การตรวจชิ้นเนื้อ คือการนำเซลล์เนื้อเยื่อมาดำเนินการตรวจทางเซลล์วิทยา เพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็ง สำหรับผู้ป่วยที่ทำการตรวจด้วยวิธีอื่นๆ มาแล้ว แต่ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้แน่ชัดนั้น ล้วนจำเป็นต้องทำการตรวจชิ้นเนื้อ รูปแบบของการนำเซลล์เนื้อเยื่อออกมาตรวจ : ผ่าตัด ส่องกล้อง การใช้เข็มเจาะเพื่อดูดเซลล์ไปตรวจ(FNA)

4.การตรวจด้วยภาพถ่ายทางการแพทย์

(1) การตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด : เป็นขั้นตอนที่จำเป็นในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ สามารถวินิจฉัยขนาดของเนื้องอก ลักษณะ ตำแหน่ง ความสัมพันธ์เกี่ยวกับมดลูกรวมไปถึงมีน้ำในช่องท้องหรือไม่ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงมะเร็งรังไข่ร วมถึงผู้ที่ปรากฏอาการไม่สบายท้องหรืออาการที่ช่องคลอดมีเลือดออก เป็นต้น แนะนำให้ทำการตรวจด้วยวิธีนี้

(2) การตรวจ CT หรือ MRI : มีส่วนช่วยในการประเมินขนาด ลักษณะ และตำแหน่งการแพร่กระจายของมะเร็งรังไข่ รวมถึงการตรวจหาว่าต่อมน้ำเหลืองบริเวณกระดูกเชิงกรานหรือบริเวณหลอดเลือดหลักมีการขยายโตขึ้นหรือไม่

(3) การตรวจ PET/CT : สามารถใช้ในการตรวจหาก้อนมะเร็ง รวมไปถึงภาวะการแพร่กระจาย นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการประเมินผลของโรคและตรวจสอบผลลัพธ์ทางการแพทย์ได้อีกด้วย

ผู้เชี่ยวชาญโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเตือนว่า การปรึกษษแพทย์แต่เนิ่นๆ จะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอด
มะเร็งตับ
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระดูก
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งตับอ่อน
มะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งสมอง
มะเร็งช่องปาก
มะเร็งท่อน้ำดี
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
มะเร็งคอ
มะเร็งถุงน้ำดี
มะเร็งช่องคลอด
มะเร็งองคชาติ
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มะเร็งโพรงจมูก
มะเร็งลำไส้เล็ก
มะเร็งไต
มะเร็งทวารหนัก
มะเร็งอัณฑะ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Multiple myeloma
มะเร็งต่อมหมวกไต
มะเร็งกระดูกสันหลัง
มะเร็งลำไส้
มะเร็งตา
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน
มะเร็งลิ้น
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งรังไข่
มะเร็งต่อมไทรอยด์
อาการโรคมะเร็ง การวินิจฉัยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง
ผู้สื่อข่าวสำนักพิมพ์ไทยรัฐประเทศไทย เดินทางไปสัมภาษณ์โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวถึงเมืองกวางเจา และเห
โครงการ 2,000,000 บาท ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งของมูลนิธิบ่ออ้าย (ประเทศไทย)
งานมอบรางวัล “ผู้กล้าสู้มะเร็งประจำเดือนมีนาคม”
ผู้บริหารของโรงพยาบาลเราได้พบคุณห่าวซีซานสมาชิกสถาบันด้านวิศวกรรมแห่งประเทศจีน เพื่อเสาะหาความร่วมมือและการพัฒนา
กลุ่ม MDT ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีสุขภาพที่แข็งแรงและกลับมามีความมั่นใจอีกครั้ง
นำโรงพยาบาลเข้าสู่มาตรฐาน JCI ยกระดับให้โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว
สุขไปกับชีวิตสายการแพทย์ เติมเต็มคุณค่าของชีวิต
การฝังแร่ไอโอดีน เสียงสวรรค์ของผู้ป่วยมะเร็ง --การประชุมใหญ่ด้านเทคโนโลยีการรักษามะเร็งด้วยการฝังแร่ไอโอดีนครั้งที่ 13 ณ ประเทศจีน