หากภาวะซึมเศร้าติดตัวคุณ จะร้ายแรงยิ่งกว่าโรคมะเร็ง

การดูแลทางด้านจิตใจของผู้ป่วยมะเร็ง

การเป็นโรคเป็นเรื่องปกติในชีวิต เมื่อความเจ็บป่วยมาสู่เรา ที่เราต้องการที่สุดคือร่างกายและจิตวิญญาณอันดีที่เข้มแข็ง กล้าหาญ และมองโลกในแง่ดี ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กวางโจวให้คำเตือนว่า หากสังเกตว่าผู้ป่วยมีอารมณ์ซึมเศร้า เงียบ ๆ ไร้อารมณ์ เป็นต้น ประการแรก ควรจะให้การสนับสนุนทางด้านจิตใจอย่างเพียงพอ ถ้าจำเป็น ก็ขอความช่วยเหลือจากหมอจิตแพทย์หรือความช่วยเหลือทางด้านจิตใจอื่น ๆ

คุณแซ่ อายุ 60 ปี เป็นผู้บริหารของบริษัทครอบครัวเธอ ร่างกายเธอดีมาก สุขภาพแข็งแรง กระปรี้กระเปร่าและชอบการทำงาน ได้รับความยอมรับจากญาติและเพื่อนๆ ว่าเป็นผู้หญิงที่เก่งและมีความสามารถ ชอบความท้าทาย หลายปีมานี้ เธอพบว่ามีเลือดออกจากช่องคลอด แล้วไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลจึงพบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก ตอนแรกคุณแซ่ไม่เชื่อและยอมรับไม่ได้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งปากมดลูก ในช่วงเวลาที่รักษาที่โรงพยาบาล เธอเงียบ ไม่ค่อยพูดคุย หน้านิ่งๆ ไร้อารมณ์และไม่ค่อยมีความอยากอาหาร ออกจากโรงพยาบาลยังไม่เกินครึ่งปี เธอก็ฆ่าตัวตาย จากครอบครัวที่เธอรักและธุรกิจที่เธอได้ใช้ความพยายามมาตลอดชีวิตไป

ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กวางโจวกล่าวว่า บุคคลที่ยิ่งชอบความท้าทาย ยิ่งยอมรับการทำลายจากความเจ็บป่วยไม่ได้ ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่ได้ทราบว่าตัวเองเป็นมะเร็งแล้ว จะซึมเศร้า กังวล ภูมิต้านทานลดลง ดังนั้นจึงมีการบอกกล่าวว่าผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่ไม่ใช่ตายเพราะโรคมะเร็ง แต่ตายเพราะการฆ่าตัวเองหรือโรคแทรกซ้อนอื่นต่างหาก การวิจัยพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งมักจะเกิดปัญหาทางจิตใจในแต่ละระดับ ซึ่งมีอาการหลากหลายตามอายุ อาชีพ การศึกษา ฐานะทางสังคม ครอบครัวและนิสัยของแต่ละคน โดยรวมแล้วหลังจากพบว่าเป็นมะเร็ง 1 วันถึง 1 ปี มีผู้ป่วยประมาณ 90% จะเกิดความกังวล ความซึมเศร้า ความกลัว และความสิ้นหวัง ตลอดจนฆ่าตัวตาย เป็นต้น การดูแลจิตใจของผู้ป่วยมะเร็งดี ๆ และให้ผู้ป่วยหลุดพ้นจากภาวะซึมเศร้าจะมีความสำคัญมากกว่าวิธีการฟื้นตัวแบบอื่น ๆ ในระดับหนึ่ง วิธีดังต่อไปนี้จะสามารถปรับปรุงอารมณ์ของผู้ป่วยให้ดีขึ้นและดูแลจิตใจของผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ

สภาพแวดล้อมของบ้านที่อบอุ่นทำให้สบายใจ หลังจากผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลและกลับบ้าน มักจะไร้อารมณ์ ครอบครัวควรตกแต่งห้องนอนของผู้ป่วยตามที่เขาชอบ ใช้สีอ่อนที่สวยงาม อย่างเช่น เปลี่ยนม่าน ผ้าปูที่นอนที่สีสดใส เป็นต้น ซึ่งจะทำให้รู้สึกเบิกบานใจ

ปรุงอาหารอย่างพิถีพิถันให้ผู้ป่วยรับประทานแล้วอิ่มใจ ในช่วงฟื้นตัว ผู้ป่วยอาจจะอาเจียน ไม่มีความอยากอาหารหรือมีอาการอื่น ครอบครัวควรพยายามส่งเสริมความอยากอาหารของผู้ป่วย อาหารไม่ควรมัน รสชาติต้องอร่อย มีทั้งผักและเนื้อ อาหารไม่ควรจำเจและเลี่ยนเกินไป ควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย

เพื่อนคุยกับผู้ป่วย ให้กำลังใจ ให้ผู้ป่วยไม่มีความรู้สึกเหงา หลังการผ่าตัด เคมีบำบัด สภาพจิตวิญญาณผู้ป่วยมักจะไม่ค่อยดี ครอบครัวควรอยู่ข้าง ๆ กัน ถ้าผู้ป่วยมีเพื่อนสนิท ควรให้เพื่อนมาเยี่ยมบ่อย ๆ บางทีการสนับสนุนของเพื่อนมีความสำคัญมากกว่าครอบครัว

คนที่เป็นโรคให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ให้หมดความรู้สึกเหงา ผู้ป่วยมะเร็งสามารถเข้าร่วมชมรมการฟื้นตัวได้ มีผู้ป่วยจำนวนมากที่มีสถานการณ์เดียวกันและจะเป็นเพื่อนกันได้ ผู้ป่วยสามารถให้กำลังใจและการปลอบใจซึ่งกันและกัน ซึ่งสามารถช่วยสร้างความมั่นใจในการต่อสู้กับโรค

หมอจิตแพทย์ให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือ เมื่อผู้ป่วยเกิดภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง ทางที่ดีที่สุดก็คือไปหาหมอจิตแพทย์ และได้รับการรักษาโรคซึมเศร้า

หมอประจำตัว กรุณาเป็นเพื่อนดีของฉัน ผู้ป่วยควรติดต่อกับหมอประจำตัวบ่อย ๆ และตรวจร่างกายประจำตามเวลากำหนดเพื่อที่จะสามารถค้นพบการกำเริบของโรคหรือการแพร่กระจาย

โดยเปรียบเทียบกรณีหลากหลายแล้ว โรงพยาบาลโรคมะเร็งสมัยใหม่กวางโจว พบว่า ผู้ป่วยที่มีอารมณ์ร่าเริง มองโลกในแง่ดี เผชิญหน้ากับมะเร็งด้วยความกล้าหาญ จะ มีชีวิตอยู่ต่อได้นานกว่า คุณภาพชีวิตจะอยู่ในระดับสูง สภาพการพยากรณ์โรคก็ดีมาก จนกระทั่งผู้ป่วยบางคนได้รับการผ่าตัด เคมีบำบัดแล้ว ญาติพวกเขาก็ยังไม่ทราบว่าพวกเขาเป็นผู้ป่วยมะเร็ง ส่วนผู้ป่วยมะเร็งที่ซึมเศร้าและไร้อารมณ์ทุกวัน สภาพการพยากรณ์โรคของพวกเขาส่วนใหญ่จะไม่ค่อยดีเท่าที่คาดหวัง โปรดจำไว้ว่า ในเวลาที่สำคัญ ภาวะซึมเศร้าจะร้ายแรงกว่ามะเร็ง

มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอด
มะเร็งตับ
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระดูก
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งตับอ่อน
มะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งสมอง
มะเร็งช่องปาก
มะเร็งท่อน้ำดี
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
มะเร็งคอ
มะเร็งถุงน้ำดี
มะเร็งช่องคลอด
มะเร็งองคชาติ
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มะเร็งโพรงจมูก
มะเร็งลำไส้เล็ก
มะเร็งไต
มะเร็งทวารหนัก
มะเร็งอัณฑะ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Multiple myeloma
มะเร็งต่อมหมวกไต
มะเร็งกระดูกสันหลัง
มะเร็งลำไส้
มะเร็งตา
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน
มะเร็งลิ้น
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งรังไข่
มะเร็งต่อมไทรอยด์
อาการโรคมะเร็ง การวินิจฉัยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง
ผู้สื่อข่าวสำนักพิมพ์ไทยรัฐประเทศไทย เดินทางไปสัมภาษณ์โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวถึงเมืองกวางเจา และเห
โครงการ 2,000,000 บาท ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งของมูลนิธิบ่ออ้าย (ประเทศไทย)
งานมอบรางวัล “ผู้กล้าสู้มะเร็งประจำเดือนมีนาคม”
ผู้บริหารของโรงพยาบาลเราได้พบคุณห่าวซีซานสมาชิกสถาบันด้านวิศวกรรมแห่งประเทศจีน เพื่อเสาะหาความร่วมมือและการพัฒนา
กลุ่ม MDT ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีสุขภาพที่แข็งแรงและกลับมามีความมั่นใจอีกครั้ง
นำโรงพยาบาลเข้าสู่มาตรฐาน JCI ยกระดับให้โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว
สุขไปกับชีวิตสายการแพทย์ เติมเต็มคุณค่าของชีวิต
การฝังแร่ไอโอดีน เสียงสวรรค์ของผู้ป่วยมะเร็ง --การประชุมใหญ่ด้านเทคโนโลยีการรักษามะเร็งด้วยการฝังแร่ไอโอดีนครั้งที่ 13 ณ ประเทศจีน