บริจาคไขกระดูกอย่างไร?

การปลูกถ่ายไขกระดูก คือ การนำเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูกของคนๆ หนึ่งปลูกถ่ายไปในร่างกายของอีกคนหนึ่ง หากพูดให้ถูกต้องก็คือ การปลูกถ่ายไขกระดูกคือการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด สำหรับผู้ที่เป็นโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับระบบโลหิตและระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (โดยทั่วไปเรียกว่า โรคมะเร็งเม็ดเลือด) โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคไขกระดูกฝ่อ โรคธาลัสซีเมีย ผู้ป่วยที่เกิดความผิดปกติจากการได้รับรังสีรักษา เป็นต้น ความหวังที่จะทำให้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้ก็คือการปลูกถ่ายไขกระดูกนั่นเอง ในประเทศจีน ทุกปีจะมีผู้ป่วยด้วยโรคต่างๆ ประมาณ 4 ล้านคน ที่กำลังรอรับการปลูกถ่ายไขกระดูก ส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีผู้ป่วยจำนวนมากกว่าที่กำลังรอรับบริจาคไขกระดูก

การหาไขกระดูกที่เหมาะสมนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ทว่า ก็ยังคงมีผู้ที่มีจิตใจดีมากมายสมัครใจเข้าร่วมกลุ่มบริจาคไขกระดูก ทางโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเรียกร้องว่า เพียงแค่คุณมีร่างกายที่แข็งแรง ขอเชิญคุณมาร่วมกลุ่มของเรา เพื่อช่วยคนที่ต้องการความช่วยเหลือ ทำความเข้าใจการปลูกถ่ายไขกระดูกและการบริจาคว่าต้องทำอย่างไร แล้วดำเนินการ บริจาคไขกระดูก-บริจาคเลือด! ง่ายแค่นี้เอง!

การบริจาคไขกระดูกส่งผลต่อสุขภาพร่างกายหรือไม่?

การบริจาคไขกระดูกไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเรา คนจำนวนมากคิดว่าการบริจาคไขกระดูกคือการนำไขกระดูกสันหลังออกมา ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดๆ การปลูกถ่ายไขกระดูกนั้นต้องการไขกระดูกแดงภายในร่างกาย นั่นคือเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด ซึ่งเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในผู้ใหญ่จะมีน้ำหนัก 3 กิโลกรัม ผู้บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดไขกระดูกไม่ถึง 10 กรัม ก็จะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้หนึ่งคน ดังนั้นจึงไม่ทำให้การทำงานของภูมิคุ้มกันและการสร้างเม็ดเลือดลดลง โดยไขกระดูกจะเป็นเนื้อเยื่อที่มีความสามารถในการเกิดใหม่สูงมาก สำหรับผู้บริจาคที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง จำนวนเซลล์ต้นกำเนิดที่บริจาคไปก็จะสามารถเสริมสร้างกลับมาใหม่ได้ภายในเวลาประมาณ 10 วัน จะไม่รู้สึกถึงความไม่สบายใดๆ จึงปลอดภัยมากสำหรับผู้บริจาค โดยปกติผู้บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดลางานเพียงครึ่งวันก็สามารถดำเนินการเสร็จสิ้นทั้งหมด ไม่ต้องพักผ่อนหรือบำรุงสุขภาพเป็นพิเศษ

คุณสมบัติของผู้บริจาคไขกระดูก

1. พลเมืองของประเทศนั้นๆ ซึ่งมีอายุ 18 – 45 ปี

2. สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคติดต่อที่สามารถถ่ายทอดทางเลือด เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไวรัสตับอักเสบซี โรคเอดส์ เป็นต้น

ขั้นตอนการบริจาคไขกระดูก

(ลำดับขั้นตอนนี้ใช้สำหรับในประเทศจีนเท่านั้น ประเทศอื่นๆ จะมีขั้นตอนที่แตกต่างกันไป)

1. ลงทะเบียน

( 1 ) ลงทะเบียนทางโทรศัพท์ : ติดต่อฮอตไลน์ของสถานที่รับบริจาคต่างๆ ลงทะเบียนโดยแจ้งชื่อ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด เป็นต้น ผ่านทางโทรศัพท์

( 2 ) ส่งข้อมูลทางไปรษณีย์ : หลังจากลงทะเบียนทางโทรศัพท์แล้ว สถานที่รับบริจาคในพื้นที่จะส่งข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดรวมถึงวิธีเดินทางไปบริจาคและที่ตั้งตามที่อยู่ที่คุณลงทะเบียนไว้

2. ตรวจเลือด

หลังจากลงทะเบียนแล้ว ธนาคารไขกระดูกก็จะตรวจเลือดคุณในเวลาที่เหมาะสม (5 มิลลิลิตร) และนำ HLA ( Human Leukocyte Antigen ) มาทดสอบเพื่อแบ่งชนิดและเก็บเป็นฐานข้อมูลของผู้บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดไว้ในคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ป่วยหาไขกระดูกที่เหมาะสมได้

สิ่งที่ต้องอธิบายในส่วนนี้คือ การเข้าธนาคารไขกระดูกนี้เป็นแค่การบันทึกการบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าต้องรีบบริจาคทันที เมื่อมีผู้ป่วยที่เหมาะสม จึงจะเตรียมการในขั้นต่อไป

3. เนื้อเยื่อเข้ากันได้ในขั้นแรก

เมื่อ HLA – AB ของผู้ให้และผู้รับบริจาคใกล้เคียงกัน ธนาคารไขกระดูกก็จะแจ้งให้คุณตรวจเลือดในขั้นต่อไป เป็นการตรวจวิเคราะห์ HLA – DR

4. ดำเนินการบริจาค

หากชนิด HLA ของผู้ให้และผู้รับบริจาคตรงกัน เจ้าหน้าที่จะแนะนำกระบวนการบริจาคให้คุณฟังอย่างละเอียด และวางแผนตรวจทั้งร่างกาย หากผลการตรวจสุขภาพของผู้บริจาคได้มาตรฐาน ก็จะดำเนินการบริจาค

การเก็บไขกระดูก

การเก็บไขกระดูกแบบดั้งเดิมต้องทำการเจาะไขกระดูก แต่ในปัจจุบันเราสามารถใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ง่ายและสะดวกกว่าเดิมมาทำการเก็บไขกระดูก

ขณะที่บริจาค คุณจะอยู่ในสภาวะที่มีสติสัมปชัญญะ เจ้าหน้าที่เฉพาะทางจะต้อนไขกระดูกที่มีประสิทธิภาพและเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในบริเวณอื่นๆ ให้ออกไปยังเลือดที่อยู่รอบนอก ระหว่างการบริจาคแค่เก็บเลือดบริเวณรอบนอกจากหลอดเลือดดำบนแขนของผู้ป่วย และใช้เครื่องมือคัดแยกเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดออกมาเท่านั้น ส่วนเลือดที่เหลือก็นำกลับเข้าไปในร่างกายของผู้บริจาค

มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอด
มะเร็งตับ
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระดูก
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งตับอ่อน
มะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งสมอง
มะเร็งช่องปาก
มะเร็งท่อน้ำดี
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
มะเร็งคอ
มะเร็งถุงน้ำดี
มะเร็งช่องคลอด
มะเร็งองคชาติ
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มะเร็งโพรงจมูก
มะเร็งลำไส้เล็ก
มะเร็งไต
มะเร็งทวารหนัก
มะเร็งอัณฑะ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Multiple myeloma
มะเร็งต่อมหมวกไต
มะเร็งกระดูกสันหลัง
มะเร็งลำไส้
มะเร็งตา
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน
มะเร็งลิ้น
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งรังไข่
มะเร็งต่อมไทรอยด์
อาการโรคมะเร็ง การวินิจฉัยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง
ผู้สื่อข่าวสำนักพิมพ์ไทยรัฐประเทศไทย เดินทางไปสัมภาษณ์โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวถึงเมืองกวางเจา และเห
โครงการ 2,000,000 บาท ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งของมูลนิธิบ่ออ้าย (ประเทศไทย)
งานมอบรางวัล “ผู้กล้าสู้มะเร็งประจำเดือนมีนาคม”
ผู้บริหารของโรงพยาบาลเราได้พบคุณห่าวซีซานสมาชิกสถาบันด้านวิศวกรรมแห่งประเทศจีน เพื่อเสาะหาความร่วมมือและการพัฒนา
กลุ่ม MDT ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีสุขภาพที่แข็งแรงและกลับมามีความมั่นใจอีกครั้ง
นำโรงพยาบาลเข้าสู่มาตรฐาน JCI ยกระดับให้โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว
สุขไปกับชีวิตสายการแพทย์ เติมเต็มคุณค่าของชีวิต
การฝังแร่ไอโอดีน เสียงสวรรค์ของผู้ป่วยมะเร็ง --การประชุมใหญ่ด้านเทคโนโลยีการรักษามะเร็งด้วยการฝังแร่ไอโอดีนครั้งที่ 13 ณ ประเทศจีน