มะเร็งลำไส้เล็ก

มะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้นคืออะไร?


มะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้น สามารถเป็นเนื้องอกปฐมภูมิ หรือเป็นเนื้องอกที่เกิดหลังจากก้อนเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะใกล้เคียง เช่น กระเพาะอาหาร ท่อน้ำดีและตับอ่อน เป็นต้น ลุกลามมายังลำไส้เล็กส่วนต้นได้  


มะเร็งลำไส้เล็ก 


อัตราการเกิดโรคมะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้นสูงแค่ไหน?

มะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้นเป็นมะเร็งที่ไม่ค่อยพบเห็นบ่อย ซึ่งอัตราการเกิดโรคมะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้นนั้นไม่ถึง 1% ของโรคมะเร็งทั้งหมดในร่างกาย โดยบุคคลที่มีอายุระหว่าง 50 – 70 ปี จะมีอัตราการเกิดโรคค่อนข้างสูง อีกทั้งผู้ป่วยเพศชายจะมีจำนวนมากกว่าผู้ป่วยเพศหญิง

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้นมีอะไรบ้าง?

ปัจจุบันยังคงไม่ทราบสาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้นที่แน่ชัด แต่สารบางอย่างจากน้ำดีและน้ำย่อยจากตับอ่อน เช่น กรดลิโธโคลิก ( Lithocholic ) เป็นต้น ก็อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ โรคติ่งเนื้อที่มาจากพันธุกรรม โรคเนื้องอกชนิดดีบริเวณเยื่อบุผิว เช่น เนื้องอกชนิดต่อมขนอ่อน ก็อาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้นได้ อีกทั้งยังมีผลวิจัยกล่าวว่า แผลเปื่อยที่ลำไส้เล็กส่วนต้นหรือการกลายเป็นเนื้อร้ายของถุงที่ผนังอวัยวะ รวมไปถึงปัจจัยทางพันธุกรรม ต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้น

ประเภทของมะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้นมีอะไรบ้าง?

1. มะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้นชนิดต่อม : เป็นมะเร็งชนิดต่อมที่เกิดขึ้นมาจากเยื่อเมือกลำไส้เล็กส่วนต้น สามารถพัฒนามาจากเนื้องอกชนิดต่อม

2. มะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้นชนิด Carcinoid : เป็นเนื้องอกร้ายที่เกิดจากเซลล์ enterochromaffin cell ซึ่งโดยทั่วไปเนื้องอกที่เกิดขึ้นจะมีขนาดค่อนข้างเล็ก ส่วนใหญ่เนื้องอกจะเกิดขึ้นที่ลำไส้เพียงจุดเดียวหรือเกิดขึ้นหลายจุดในลำไส้ แต่เมื่อเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้นก็จะเกิดการรุกล้ำ

3. มะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้นกล้ามเนื้อเรียบ : เป็นเนื้องอกชั้นกล้ามเนื้อที่เกิดจากชั้นกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้เล็กส่วนต้นหรือชั้น muscularis propria ของลำไส้เล็กส่วนต้น หรือเนื้องอกชั้นกล้ามเนื้อของหลอดเลือดผนังลำไส้

4. เนื้องอกร้ายของต่อมน้ำเหลืองลำไส้เล็กส่วนต้น : เป็นเนื้องอกร้ายที่เกิดจากเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองผนังลำไส้เล็กส่วนต้น โดยจะมีความแตกต่างจากรอยโรคทุติยภูมิของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่รุกล้ำถึงลำไส้

มะเร็งลำไส้เล็ก


อาการของมะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้นมีอะไรบ้าง?

1. ผู้ป่วยมีอาการไม่สบายหรือปวดตื้อบริเวณท้องส่วนบน หลังรับประทานอาหารแล้วอาการปวดก็ยังไม่บรรเทาลง นอกจากนี้บางครั้งอาการปวดยังลุกลามไปถึงบริเวณหลังอีกด้วย

2. ผู้ป่วยเกิดอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้และอาเจียน เป็นต้น

3. ทางเดินอาหารของผู้ป่วยจะมีเลือดออกปริมาณน้อยแบบเรื้อรังเป็นเวลานานหรืออาจจะมีเลือดออกเป็นครั้งคราว เช่น มีเลือดในอุจจาระหรืออุจจาระเป็นสีดำ

4. น้ำหนักเริ่มลดลง อีกทั้งร่างกายของผู้ป่วยจะเกิดอาการไข้และโลหิตจางอีกด้วย

5. เมื่อเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือลุกลามไปยังเนื้อเยื่อโดยรอบ ผู้ป่วยบางส่วนจะสามารถคลำพบก้อนบริเวณท้องด้านขวาบน

วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้นมีอะไรบ้าง?

1. การตรวจโดยการสวนแป้งแบเรียมร่วมกับก๊าซ ( DOUBLE CONTRAST BARIUM ENEMA) : สามารถมองเห็นว่าเยื่อเมือกบริเวณที่มีรอยโรคนั้นจะหนาขึ้น เยื่อเมือกไม่เป็นระเบียบ รอยย่นของเยื่อเมือกหายไปและยังสามารถมองเห็นระดับความแข็งของผนังลำไส้ นอกจากนี้ยังสามารถมองเห็นการถูกทำลายของติ่งเนื้อ มีเงาดำและช่องของลำไส้เล็กส่วนต้นแคบอีกด้วย

2. การตรวจโดยการส่องกล้องไฟเบอร์ออปติก : สามารถมองเห็นระดับความเปื่อยของแผลเยื่อเมือกบริเวณที่มีรอยโรคได้ ทั้งยังสามารถมองเห็นผิวเยื่อเมือกที่มีเนื้อเยื่อตายอีกด้วย

3. การตรวจอัลตราซาวด์ การส่องกล้องตรวจคลื่นความถี่สูง และการตรวจ CT : สามารถเห็นได้ว่าผนังลำไส้บางส่วนหนาขึ้น และยังสามารถเห็นถึงขอบเขต ระดับความลึกของเนื้องอกที่รุกล้ำและบริเวณรอบๆ ต่อมน้ำเหลืองว่ามีการลุกลามหรือไม่ รวมไปถึงสามารถมองเห็นสภาพของตับและอวัยวะภายในช่องท้องได้ด้วย

4. การถ่ายภาพรังสีหลอดเลือดแดงบริเวณช่องท้องและหลอดเลือดแดงเยื่อบุระบบลำไส้ : ผู้ป่วยที่ผ่านการตรวจวิธีที่กล่าวมาข้างต้นแล้วยังไม่สามารถวินิจฉัยแน่ชัดได้ สามารถเลือกใช้วิธีนี้เป็นส่วนช่วยในการวินิจฉัย

เทคโนโลยีทางการแพทย์สำหรับโรคมะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้นแบบดั้งเดิมมีอะไรบ้าง?

1. การผ่าตัด : สามารถยึดตามตำแหน่งของมะเร็งและอาการของโรคมาเลือกวิธีการผ่าตัด ซึ่งได้แก่ การผ่าตัดลำไส้เล็กส่วนต้นและหัวตับอ่อน การผ่าตัดท่อลำไส้เล็กแบบเป็นช่วงๆ และการผ่าตัดส่วนใหญ่ของกระเพาะอาหาร เป็นต้น

2. การฉายรังสีและการใช้ยาเคมี : การฉายรังสีและเคมีบำบัดจะเห็นผลไม่ชัดนัก แต่การให้ยาเคมี จะสามารถยืดอายุของผู้ป่วยให้นานขึ้น อีกทั้งการฉายรังสีและให้ยาเคมีประกอบในระหว่างผ่าตัดหรือหลังผ่าตัด ก็สามารถยกระดับอัตราการผ่าตัดและลดการกลับมาเป็นมะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้นซ้ำ

วิธีการดูแลพยาบาลในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้นมีอะไรบ้าง?

1. ผู้ป่วยควรเลิกบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ชาเข้มข้นและกาแฟ

2. ผู้ป่วยไม่ควรรับประทานอาหารมากเกินไปหรือดื่มมากเกินไป ทานอาหารรสเผ็ดและอาหารย่อยยากให้น้อยลง

3. ผู้ป่วยควรลดการใช้ตัวยาที่ไปกระตุ้นกระเพาะอาหารและลำไส้

4. ผู้ป่วยควรรับประทานผลไม้และผักสดให้มากขึ้น

5. ควรจัดอาหารให้ผู้ป่วยอย่างเหมาะสมและโภชนาการครบทั้งห้าหมู่

6. ควรระมัดระวังความสะอาดของอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับประทานอาหารของผู้ป่วย

มะเร็งลำไส้เล็ก  


วิธีการที่เหมาะสมโรคมะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้น

ทีมผู้เชี่ยวชาญหลายแขนงซึ่งรวบรวมแพทย์ศัลยกรรมด้านมะเร็ง ผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านการฉายแสงมะเร็ง ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคแบบบาดแผลเล็ก พยาบาลผู้ดูแลแผนกมะเร็งและเจ้าหน้าที่ล่าม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะร่วมกันกำหนดแผนการโดยประเมินจากสภาพร่างกายและอาการของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อยกระดับผลลัพธ์ท่งการแพทย์ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้นให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โรคมะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้นแบบแพทย์แผนจีน

แพทย์แผนจีนมีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของร่างกาย ช่วยในการต้านมะเร็ง ยกระดับประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันและเสริมสร้างความแข็งแรง เป็นต้น ซึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวได้นำการแพทย์แผนจีนมาใช้ควบคู่กับเทคโนโลยีแบบอื่นๆ ทำให้เกิดการบูรณาการระหว่างข้อดีของแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบัน สามารถยกระดับผลลัพธ์ทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

สามารถได้รับการสนับสนุนด้านใดได้บ้าง

จากผลการปฏิบัติพิสูจน์ให้เห็นว่า การบริการของทีมแพทย์ซึ่งบูรณาการหลายแขนง เช่น แผนกผ่าตัดเนื้องอก แผนกอายุรกรรมเนื้องอก แผนกแพทย์แผนจีน แผนกพยาธิวิทยา แผนกภาพถ่ายทางการแพทย์ วิสัญญีแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล เป็นต้น ช่วยกำหนดแผนการที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เหมาะสมที่สุด และประหยัดที่สุดให้แก่ผู้ป่วยได้ ช่วยปรับผลลัพธ์ทางการแพทย์ของผู้ป่วยมะเร็งให้ดียิ่งขึ้น

จากระบบทางการแพทย์ที่เน้นการบริการครบถ้วนในครั้งเดียว โดยการบูรณาการหลายแขนงของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว บูรณาการการตรวจให้กับผู้ป่วย ด้านหนึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเสนอการบริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจรให้แก่ผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งยกระดับประสิทธิภาพทางการแพทย์ให้สูงขึ้น โดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้งช่องทางการติดต่อระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีหลายช่องทาง ได้แก่ ทางออนไลน์ ทางอีเมล์ ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะกัน เพื่อขยายช่องทางการบริการให้คำปรึกษา ช่วยให้พวกเขาต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยจะได้พบนั้นประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ และล่ามแปลภาษา เป็นต้น เพื่อตอบสนองความต้องการทุกระดับชั้นของผู้ป่วยจากประเทศที่แตกต่างกันให้เป็นที่พอใจ การพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยช่องทางเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือกับทางโรงพยาบาลได้ดียิ่งขึ้น



มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอด
มะเร็งตับ
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระดูก
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งตับอ่อน
มะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งสมอง
มะเร็งช่องปาก
มะเร็งท่อน้ำดี
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
มะเร็งคอ
มะเร็งถุงน้ำดี
มะเร็งช่องคลอด
มะเร็งองคชาติ
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มะเร็งโพรงจมูก
มะเร็งลำไส้เล็ก
มะเร็งไต
มะเร็งทวารหนัก
มะเร็งอัณฑะ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Multiple myeloma
มะเร็งต่อมหมวกไต
มะเร็งกระดูกสันหลัง
มะเร็งลำไส้
มะเร็งตา
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน
มะเร็งลิ้น
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งรังไข่
มะเร็งต่อมไทรอยด์
อาการโรคมะเร็ง การวินิจฉัยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง
ผู้สื่อข่าวสำนักพิมพ์ไทยรัฐประเทศไทย เดินทางไปสัมภาษณ์โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวถึงเมืองกวางเจา และเห
โครงการ 2,000,000 บาท ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งของมูลนิธิบ่ออ้าย (ประเทศไทย)
งานมอบรางวัล “ผู้กล้าสู้มะเร็งประจำเดือนมีนาคม”
ผู้บริหารของโรงพยาบาลเราได้พบคุณห่าวซีซานสมาชิกสถาบันด้านวิศวกรรมแห่งประเทศจีน เพื่อเสาะหาความร่วมมือและการพัฒนา
กลุ่ม MDT ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีสุขภาพที่แข็งแรงและกลับมามีความมั่นใจอีกครั้ง
นำโรงพยาบาลเข้าสู่มาตรฐาน JCI ยกระดับให้โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว
สุขไปกับชีวิตสายการแพทย์ เติมเต็มคุณค่าของชีวิต
การฝังแร่ไอโอดีน เสียงสวรรค์ของผู้ป่วยมะเร็ง --การประชุมใหญ่ด้านเทคโนโลยีการรักษามะเร็งด้วยการฝังแร่ไอโอดีนครั้งที่ 13 ณ ประเทศจีน