มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Multiple myeloma

โรคมะเร็งไขกระดูก ( Multiple Myeloma หรือ MM ) คืออะไร?

โรคมะเร็งไขกระดูก หรือ โรคเอ็มเอ็ม เป็นโรคมะเร็งทางระบบเลือดชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นจากพลาสมาเซลล์ (เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในไขกระดูก) โดยปกติพลาสมาเซลล์จะทำหน้าที่สร้างแอนติบอดีต้านเชื้อโรคให้แก่ร่างกาย แต่พลาสมาเซลล์ที่เปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็ง——เซลล์มะเร็งมัยอิโลมาในไขกระดูกจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ จะปรากฏอาการ เช่น โลหิตจาง ปวดกระดูก กระดูกหัก ภูมิคุ้มกันลดลง แคลเซียมในเลือดสูง มีโปรตีนในปัสสาวะ ระบบการทำงานของไตไม่สมบูรณ์ เป็นต้น

สถานการณ์การเกิดโรคมะเร็งไขกระดูก

อัตราการเกิดโรคเอ็มเอ็มมีประมาณสองในแสน ถูกจัดเป็นโรคมะเร็งทางโลหิตอันดับสองที่พบได้บ่อย มักเกิดในวัยกลางคนและวัยสูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุระหว่าง 50 - 65 ปี ไม่กี่ปีมานี้มีแนวโน้มเกิดในผู้ที่อายุน้อยกว่านั้น อัตราการเกิดโรคในเพศชายจะสูงกว่าเพศหญิง อัตราเปรียบเทียบระหว่างเพศชายกับเพศหญิงอยู่ที่ 1.6 : 1 ตามอายุที่เพิ่มขึ้น อัตราการเกิดโรคเอ็มเอ็มก็สูงขึ้นเช่นกัน ทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตและคุณภาพการอยู่รอดมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นผู้สูงอายุไม่ควรละเลยโรคมะเร็งทางโลหิตนี้ ซึ่งการเกิดโรคเอ็มเอ็มนั้นยังมีความเกี่ยวข้องกับเชื้อชาติอีกด้วย โดยอัตราการเกิดโรคในคนผิวดำจะสูงกว่าเล็กน้อย

โรคเอ็มเอ็ม

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งไขกระดูกคืออะไร?

สาเหตุการเกิดโรคเอ็มเอ็มยังไม่เป็นที่แน่ชัดนัก โดยอาจเกี่ยวกับการแผ่ของรังสีก่อประจุ การกระตุ้นเรื้อรังของเอนติเจน ไวรัส EB หรือการติดเชื้อไวรัสที่มีความเกี่ยวข้องกับมะเร็ง Kaposi's sarcoma และอาจเกี่ยวข้องกับเซลล์และยีน ซึ่ง IL-6 ทำให้เซลล์มะเร็งเอ็มเอ็มเจริญเติบโต

อาการของโรคมะเร็งไขกระดูกมีอะไรบ้าง ?

โรคเอ็มเอ็มมีอัตราการวินิจฉัยผิดพลาดสูงถึง 40% - 50% เลยทีเดียว โดยอาการที่พบบ่อยซึ่งทำให้การวินิจฉัยผิดพลาดมีดังนี้ :

1. การติดเชื้อ : ผู้ป่วยจะเกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจหรือการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่าย สำหรับอาการในระยะสุดท้าย การติดเชื้อเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตได้

2. โลหิตจาง : การทำงานโดยปกติของไขกระดูกในผู้ป่วยโรคเอ็มเอ็มถูกควบคุม ทำให้เกิดโลหิตจาง

3. อาการของกระดูก : ปวดกระดูก มีเนื้องอกบางส่วน กระดูกหัก แม้กระทั่งอัมพาต เป็นต้น

4. ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง : ทำให้อาเจียน อ่อนเพลีย ความจำเลือนราง ปัสสาวะบ่อยหรือท้องผูก เป็นต้น

5. ภาวะเลือดมีความข้นหนืดมาก : อาการหลักที่พบ คือ เวียนหัว หน้ามืด ตาลาย หูอื้อ เกิดความผิดปกติในระดับความรู้สึกตัวกะทันหัน นิ้วมือชา เป็นต้น

6. ระบบการทำงานของไตบกพร่อง : เมื่อตรวจวินิจฉัยจะพบว่า ผู้ป่วยมักมีการทำงานของไตไม่สมบูรณ์ร่วมด้วย

อาการของโรคเอ็มเอ็ม

วิธีการตรวจวินิจฉัยมีอะไรบ้าง?

จากการตรวจวินิจฉัยพบว่า สองในสามของผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจครั้งแรกมักจะตรวจพบว่าเป็นระยะสุดท้ายแล้ว ซึ่งมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไปตรวจผิดแผนก ทำให้การวินิจฉัยผิดพลาด ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเตือนผู้ป่วยว่า หากมีอาการปวดกระดูก โลหิตจาง ไตทำงานไม่สมบูรณ์ มีการติดเชื้อครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นต้น ต้องเข้ารับการตรวจที่แผนกโลหิตวิทยาทันที หากตรวจพบโรคเร็วก็จะสามารถควบคุมการพัฒนาของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเอ็มเอ็ม ควรรีบไปตรวจระดับ immunoglobulin ตรวจ Bence Jones protein การตรวจเอกซเรย์ รวมถึงการตรวจไขกระดูก การตรวจเอกซเรย์หลายจุดนั้นมีส่วนช่วยอย่างมากในการตรวจวินิจฉัยโรค สามารถพบจุดแตกหักของกระดูกรูปร่างกลมมนซึ่งมีขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกัน ( โดยเฉพาะกะโหลกศีรษะ กระดูกซี่โครง กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน ) เมื่อจำเป็นก็ต้องทำการตรวจ CTและตรวจ MRI ซึ่งการตรวจ MRI มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยว่ากระดูกสันหลังมีการกดทับหรือไม่ ส่วนการตรวจ CT จะมีส่วนช่วยในการแสดงให้เห็นรอยโรคนอกไขสันหลัง บางครั้งโรคกระดูกพรุนสามารถปรากฏเป็นผลเอกซเรย์เพียงอย่างเดียวของโรคเอ็มเอ็ม ซึ่งการตรวจวินิจฉัยโรคเอ็มเอ็มให้แน่ชัด ต้องเจาะตรวจชิ้นเนื้อหรือไขกระดูกหลายตำแหน่ง

การแบ่งลักษณะและระยะของโรคมะเร็งไขกระดูก

การเพิ่มขึ้นของอิมมูโนโกลบูลินที่มีความผิดปกติทำให้สามารถแบ่งชนิดของโรคมะเร็งไขกระดูกออกเป็น lgG lgA lgD lgM และ lgE เป็นต้น

ระบบการแบ่งชนิด ISS

ระยะ
เกณฑ์มาตรฐานการแบ่งระยะ ISS
ค่ากลางของการอยู่รอด (เดือน)
1

เซรุ่มβ2-MG<3.5mg/L,

โปรตีน≥35g/L


62
2
ผู้ป่วยทั้งหมดที่ไม่สอดคล้องกับระยะ 1 และ 3
45
3
เซรุ่มβ2-MG≥5.5mg/L
29

การวินิจฉัยโรคเอ็มเอ็ม

เทคโนโลยีทางการแพทย์สำหรับโรคมะเร็งไขกระดูก

ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการและอยู่ในระยะคงที่ไม่จำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล แต่ต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลตามกำหนด ส่วนผู้ที่มีเอ็มโปรตีน ( M-protein ) ในเลือดหรือในปัสสาวะสูงขึ้นหรือปรากฏอาการนั้น ต้องเข้าปรึกษาแพทย์ทันที ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 70 ปี หากเงื่อนไขเหมาะสมก็สามารถทำการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดได้

การบูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบัน : เป็นทางเลือกอันดับแรกสำหรับผู้ป่วย หากผู้ป่วยสามารถใช้ยาแพทย์แผนจีนร่วมในระหว่างการทำเคมีบำบัด ก็จะสามารถยกระดับผลลัพธ์การใช้ยาเคมีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดผลข้างเคียงของยาเคมี ฟื้นฟูสมรรถภาพการสร้างเม็ดเลือดของไขกระดูก เพิ่มสมรรถนะภูมิคุ้มกัน ในช่วงเวลานี้ ยาแพทย์แผนจีนจะไปโจมตีเซลล์มะเร็งอย่างต่อเนื่อง กำจัดเซลล์มะเร็งที่เหลืออยู่ ไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก ในระหว่างการทำเคมีบำบัด กระเพาะและลำไส้ของผู้ป่วยจะมีการตอบสนองมาก จึงไม่เหมาะกับการทานยาแพทย์แผนจีน โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวจะใช้รูปแบบการฉีดยาในการเยียวยาและบรรเทาอาการของผู้ป่วย

การให้ยาเคมี : เป็นวิธีการมาตรฐานของโรคมะเร็งไขกระดูก

การฉายรังสี : ใช้ค่อนข้างน้อย เหมาะสำหรับเฉพาะส่วน ผู้ที่มีอาการปวดกระดูกและกระดูกไขสันหลังกดทับ

การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ : การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จากร่างกายตนเองและจากร่างกายผู้อื่นสามารถใช้กับโรคมะเร็งไขกระดูกได้อีกด้วย

วิธีการดูแลพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งไขกระดูกจากครอบครัว

1. พักผ่อน : สามารถออกกำลังกายอย่างเหมาะสม แต่ห้ามออกกำลังกายหักโหม เพื่อป้องกันการล้ม การกระแทกจนได้รับบาดเจ็บ

2. เพื่อป้องกันกระดูกหักทางพยาธิวิทยา : ควรให้ผู้ป่วยใช้เตียงแข็งราบ เว้นการใช้เตียงที่มีความยืดหยุ่น

3. การดูแลเรื่องอาหาร : ควรทานอาหารที่มีพลังงานสูง โปรตีนสูง อุดมไปด้วยวิตามิน อาหารย่อยง่าย ผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตไม่สมบูรณ์ ควรรับประทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำ โปรตีนต่ำหรือแป้งข้าวสาลี เพื่อลดการทำงานของไต หากมีกรดยูริกในเลือดสูงและมีแคลเซียมในเลือดสูง ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ ทุกวันพยายามปัสสาวะออกมา 2000 ml ขึ้นไป เพื่อป้องกันหรือบรรเทาภาวะกรดยูริกในเลือดสูงและแคลเซียมในเลือดสูง

4. สำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่ลุกจากเตียงไม่ได้เพราะเคลื่อนไหวไม่สะดวกนั้น ควรช่วยพลิกตัวเป็นประจำ โดยต้องทำอย่างนุ่มนวล หลีกเลี่ยงการเกิดกระดูกหัก บริเวณผิวหนังที่มีการกดทับ ควรใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นนวดหรือทำกายภาพบำบัด เตียงควรแห้งและเรียบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับ

5. การดูแลช่องปาก : ผู้ป่วยที่ระบบการทำงานของไตเสียหาย เนื่องจากการสะสมของสารเมตาบอไลท์ที่มากเกินไป ของเสียบางส่วนจึงเข้าไปในทางเดินหายใจและขับออกมา ทำให้มีกลิ่นปาก ส่งผลต่อความอยากอาหารของผู้ป่วย จึงควรดูแลความสะอาดภายในช่องปาก ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

6. การดูแลด้านสภาพจิตใจ : ให้ผู้ป่วยระบายความกังวลออกมา เพิ่มความเอาใจใส่และดูแลผู้ป่วย พยายามบรรเทาความกดดัน ช่วยผู้ป่วยให้เผชิญหน้ากับความจริง กำจัดความหวาดกลัว ให้อารมณ์มั่นคง

การรักษาโรคเอ็มเอ็ม

สามารถได้รับการสนับสนุนด้านใดได้บ้าง

จากผลการปฏิบัติพิสูจน์ให้เห็นว่า การบริการของทีมแพทย์ซึ่งบูรณาการหลายแขนง เช่น แผนกผ่าตัดเนื้องอก แผนกอายุรกรรมเนื้องอก แผนกแพทย์แผนจีน แผนกพยาธิวิทยา แผนกภาพถ่ายทางการแพทย์ วิสัญญีแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล เป็นต้น ช่วยกำหนดแผนการที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เหมาะสมที่สุด และประหยัดที่สุดให้แก่ผู้ป่วยได้ ช่วยปรับผลลัพธ์ทางการแพทย์ของผู้ป่วยมะเร็งให้ดียิ่งขึ้น

จากระบบทางการแพทย์ที่เน้นการบริการครบถ้วนในครั้งเดียว โดยการบูรณาการหลายแขนงของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว บูรณาการการตรวจให้กับผู้ป่วย ด้านหนึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเสนอการบริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจรให้แก่ผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งยกระดับประสิทธิภาพทางการแพทย์ให้สูงขึ้น โดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้งช่องทางการติดต่อระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีหลายช่องทาง ได้แก่ ทางออนไลน์ ทางอีเมล์ ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะกัน เพื่อขยายช่องทางการบริการให้คำปรึกษา ช่วยให้พวกเขาต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยจะได้พบนั้นประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ และล่ามแปลภาษา เป็นต้น เพื่อตอบสนองความต้องการทุกระดับชั้นของผู้ป่วยจากประเทศที่แตกต่างกันให้เป็นที่พอใจ การพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยช่องทางเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือกับทางโรงพยาบาลได้ดียิ่งขึ้น

มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอด
มะเร็งตับ
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระดูก
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งตับอ่อน
มะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งสมอง
มะเร็งช่องปาก
มะเร็งท่อน้ำดี
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
มะเร็งคอ
มะเร็งถุงน้ำดี
มะเร็งช่องคลอด
มะเร็งองคชาติ
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มะเร็งโพรงจมูก
มะเร็งลำไส้เล็ก
มะเร็งไต
มะเร็งทวารหนัก
มะเร็งอัณฑะ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Multiple myeloma
มะเร็งต่อมหมวกไต
มะเร็งกระดูกสันหลัง
มะเร็งลำไส้
มะเร็งตา
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน
มะเร็งลิ้น
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งรังไข่
มะเร็งต่อมไทรอยด์
อาการโรคมะเร็ง การวินิจฉัยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง
ผู้สื่อข่าวสำนักพิมพ์ไทยรัฐประเทศไทย เดินทางไปสัมภาษณ์โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวถึงเมืองกวางเจา และเห
โครงการ 2,000,000 บาท ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งของมูลนิธิบ่ออ้าย (ประเทศไทย)
งานมอบรางวัล “ผู้กล้าสู้มะเร็งประจำเดือนมีนาคม”
ผู้บริหารของโรงพยาบาลเราได้พบคุณห่าวซีซานสมาชิกสถาบันด้านวิศวกรรมแห่งประเทศจีน เพื่อเสาะหาความร่วมมือและการพัฒนา
กลุ่ม MDT ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีสุขภาพที่แข็งแรงและกลับมามีความมั่นใจอีกครั้ง
นำโรงพยาบาลเข้าสู่มาตรฐาน JCI ยกระดับให้โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว
สุขไปกับชีวิตสายการแพทย์ เติมเต็มคุณค่าของชีวิต
การฝังแร่ไอโอดีน เสียงสวรรค์ของผู้ป่วยมะเร็ง --การประชุมใหญ่ด้านเทคโนโลยีการรักษามะเร็งด้วยการฝังแร่ไอโอดีนครั้งที่ 13 ณ ประเทศจีน