มะเร็งกระดูกสันหลัง

โรคมะเร็งกระดูกสันหลังคืออะไร?

มะเร็งกระดูกสันหลังสามารถแบ่งตามที่มาของเนื้องอกได้เป็น โรคมะเร็งกระดูกสันหลังชนิดปฐมภูมิและโรคมะเร็งกระดูกสันหลังชนิดทุติยภูมิ แต่มะเร็งกระดูกสันหลังชนิดปฐมภูมินั้นพบได้ค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นมะเร็งกระดูกสันหลังชนิดทุติยภูมิ มะเร็งกระดูกสันหลังชนิดทุติยภูมิในระยะแรกสุดจะเกิดขึ้นที่ตำแหน่งอื่นๆ ซึ่งอยู่นอกกระดูกสันหลังภายในร่างกาย และเกิดการแพร่กระจายไปยังกระดูกสันหลัง ช่วงเวลาการกระจายจากอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายไปยังกระดูกสันหลังนั้นเรียกว่าการลุกลาม

ทั้งนี้กระดูกสันหลังเป็นจุดที่ถูกลุกลามจากมะเร็งชนิดอื่นๆ ได้ง่ายที่สุด มะเร็งที่ลามไปยังกระดูกสันหลังมากที่สุด ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งไต มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งต่อมไทรอยด์ เป็นต้น 


อัตราการเกิดโรคมะเร็งกระดูกสันหลังสูงแค่ไหน

อัตราการเกิดโรคมะเร็งกระดูกสันหลังอยู่ที่ประมาณ 6% - 10% ของโรคมะเร็งกระดูกทั้งหมด ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมานี้ อัตราการเกิดโรคมะเร็งกระดูกสันหลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ มะเร็งกระดูกสันหลังนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย แต่ในช่วงอายุ 40 - 65 ปี จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง อีกทั้งพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระดูกสันหลังมีอะไรบ้าง?

จนถึงปัจจุบันนี้สาเหตุของการเกิดมะเร็งกระดูกสันหลังก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนมากนัก แต่จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยทางพันธุกรรม การบาดเจ็บภายนอก มลภาวะทางสิ่งแวดล้อมและสิ่งกระตุ้นทางเคมี ปัจจัยเกี่ยวกับจิตใจและฮอร์โมน การกระตุ้นจากรังสีและการติดเชื้อไวรัส เป็นต้น อาจมีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งกระดูกสันหลัง

โรคมะเร็งกระดูกสันหลังที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง?

1. ออสทีโอซาร์โคมา ( osteosarcoma ) : พบเห็นได้บ่อยในบริเวณกระดูกสันหลังช่วงเอวและกระดูกเหนือก้นกบ ออสทีโอซาร์โคมาบริเวณกระดูกสันหลังจะไม่ค่อยพบเห็น แต่ผู้ป่วยบางส่วนที่เป็นโรคพาเจท ( Paget's disease ) ก็อาจเป็นออสทีโอซาร์โคมาบริเวณกระดูกสันหลังได้

2. คอนโดรซาร์โคมา ( chondrosarcoma ) : คอนโดรซาร์โคมาพบเห็นได้น้อยมาก เป็นเนื้อร้ายที่มีการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า แม้ว่าคอนโดรซาร์โคมาจะพบเห็นได้ในแนวกระดูกสันหลัง แต่ที่พบเห็นได้บ่อยกว่ากลับเป็นบริเวณทรวงอก

3. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง : มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน ( Non-Hodgkin lymphoma ) สามารถเกิดขึ้นได้ในกระดูกสันหลัง มะเร็งชนิดนี้อาจมีการแพร่กระจายจากกระดูก ( เช่น กระดูกสันหลัง ) ไปยังช่องประสาทไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการกดทับเส้นประสาทที่ไขสันหลัง

4. คอร์โดมา ( chordoma ) : คอร์โดมาเป็นมะเร็งกระดูกสันหลังชนิดปฐมภูมิที่พบได้บ่อยที่สุดในวัยผู้ใหญ่ คอร์โดมามักเกิดขึ้นที่บริเวณหลัง ( กระดูกสันหลังส่วนเอว ) และบริเวณกระดูกก้นกบ และอาจเกิดขึ้นบริเวณรากประสาท

5. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัลติเพิล มัยอิโลมา ( Multiple Myeloma ) : มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัลติเพิล มัยอิโลมาเป็นมะเร็งกระดูกและกระดูกสันหลังชนิดปฐมภูมิที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัลติเพิล มัยอิโลมาจะทำลายเนื้อเยื่อกระดูก ทั้งยังสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ อีกด้วย เช่น ไต

อาการของโรคมะเร็งกระดูกสันหลังมีอะไรบ้าง?

1. ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวด เช่น ปวดบริเวณคอและหัวไหล่ ปวดหลังและปวดเอว อาการปวดอาจจะลามไปถึงแขน ซี่โครงและบริเวณขา

2. ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกล้ามเนื้อกระตุก แขนขาไม่มีแรง ก้าวเดินไม่มั่นคง รู้สึกมีอุปสรรค กระดูกสันหลังผิดรูป และสูญเสียสมรรถภาพในการควบคุมการขับถ่าย เป็นต้น

3. ในกล้ามเนื้อส่วนลึกของผู้ป่วย สามารถสัมผัสได้ถึงขนาดและความแข็งของก้อนเนื้อที่แตกต่างกัน

4. หลังจากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บจากภายนอก จะทำให้เกิดกระดูกสันหลังหักได้ง่าย

5. ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซูบผอม หรือกระทั่งมีไข้ต่ำและภาวะโลหิตจาง

วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งกระดูกสันหลังมีอะไรบ้าง?

1. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ : การตรวจทางห้องปฏิบัติการจะช่วยให้แพทย์เข้าใจถึงสภาพร่างกายของผู้ป่วยได้ครบถ้วนทุกด้านยิ่งขึ้น

2. การตรวจเอกซเรย์ : การตรวจเอกซเรย์สามารถแสดงให้เห็นความเสียหายจากมะเร็งและกระดูกสันหลังที่ผิดรูปไป แต่โดยปกติจะเป็นแค่การตรวจในขั้นแรกหรือการตรวจคัดกรอง

3. การตรวจ CT : การตรวจ CT สามารถมองเห็นถึงขนาดของก้อนเนื้อ ขอบเขต กระดูกหักทางพยาธิวิทยา และการเปลี่ยนแปลงของกระดูกกับแคลเซียมภายในเนื้องอก เป็นต้น

4. การตรวจ MRI : การตรวจ MRI สามารถแสดงให้เห็นถึงเนื้อเยื้ออ่อนภายในก้อนเนื้อรวมไปถึงเนื้อเยื่ออ่อนโดยรอบที่ทำงานหนักเกินไป อีกทั้งแสดงให้เห็นไขสันหลัง รากประสาท รวมถึงขอบเขตการรุกล้ำของก้อนมะเร็งได้อย่างชัดเจน

5. การตรวจชิ้นเนื้อ : ใช้เครื่อง CT นำทางในการเจาะตรวจชิ้นเนื้อ มีความสำคัญต่อการวินิจฉัยแยกประเภทและลักษณะของมะเร็งกระดูกสันหลังได้ชัดเจน

เทคโนโลยีทางการแพทย์สำหรับโรคมะเร็งกระดูกสันหลังมีอะไรบ้าง?

1. การผ่าตัด : โดยการผ่าตัดก้อนมะเร็งทั้งหมดหรือบางส่วน เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และการควบคุมโรค

2. แบบไม่ต้องผ่าตัด : มะเร็งกระดูกสันหลังไม่สามารถใช้วิธีผ่าตัดได้ทั้งหมด แต่ต้องใช้วิธีการที่ไม่ต้องผ่าตัดประกอบด้วย

(1) เสื้อเกราะพยุงลำตัว ( เสื้อรัดลำตัว ) : เสื้อเกราะพยุงลำตัวหรือเสื้อรัดลำตัวมีส่วนช่วยให้กระดูกสันหลังมั่นคงขึ้นและช่วยลดความเจ็บปวด

(2) บรรเทาอาการเจ็บปวด : การดูแลอาการเจ็บปวดหรือที่เรียกว่าการบรรเทาอาการ วัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการปวด ลดอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อน มีส่วนช่วยในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น

(3) การใช้ยาเคมี : การใช้ยาเคมีคือการส่งยาเคมีไปละลายลายเซลล์มะเร็ง โดยการแทรกแซงความสามารถในการเติบโตและการเพิ่มจำนวนของเซลล์ (วงจรชีวิตของเซลล์) เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และการควบคุมโรค

(4) การฉายรังสี : การฉายรังสีสามารถอาศัยการฉายรังสีภายนอกหรือการฉายรังสีภายใน หรือใช้ร่วมกันทั้งสองแบบและการควบคุมโรค

3. แพทย์แผนจีน : โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว ได้นำแพทย์แผนจีนมาประยุกต์ควบคู่กับเทคโนโลยีด้านโรคมะเร็งแบบอื่นๆ ผสมผสานจุดเด่นระหว่างแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการแพทย์สำหรับโรคมะเร็ง

4. เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ดีเยี่ยม : โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเน้นการดูแลโดยยึดตามอาการของผู้ป่วย และอาศัยการประชุมร่วมกันของทีมผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งในการกำหนดแผนการที่ให้เหมาะสม เพื่อปรับปรุงขั้นตอนต่างๆเพื่อผู้ป่วยมะเร็งกระดูกสันหลังให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

วิธีดูแลพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งกระดูกสันหลังมีอะไรบ้าง?

การดูแลในชีวิตประจำวัน

1. ควรดูแลผู้ป่วยให้มีสภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง รวมไปถึงการมองโลกในแง่ดี

2. ผู้ป่วยควรเสริมสร้างภูมิต้านทาน เสริมสร้างโภชนาการ และการใช้ยาแก้ปวดในปริมาณที่เหมาะสม

3. ผู้ป่วยควรออกกำลังกายเพื่อการทำงานที่ดีของร่างกาย และพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเอง

การดูแลหลังการผ่าตัด

1. คนในครอบครัวควรปลอบโยนและให้กำลังใจผู้ป่วย

2. หลังจากผ่าตัด ผู้ป่วยควรนอนราบ สามารถเพิ่มหมอนรองคอได้ตามความต้องการ

3. หลังจากผ่าตัด ผู้ป่วยควรทานอาหารเหลวชั่วคราว ไม่รับประทานอาหารรสเผ็ดและรสจัด

มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอด
มะเร็งตับ
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระดูก
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งตับอ่อน
มะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งสมอง
มะเร็งช่องปาก
มะเร็งท่อน้ำดี
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
มะเร็งคอ
มะเร็งถุงน้ำดี
มะเร็งช่องคลอด
มะเร็งองคชาติ
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มะเร็งโพรงจมูก
มะเร็งลำไส้เล็ก
มะเร็งไต
มะเร็งทวารหนัก
มะเร็งอัณฑะ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Multiple myeloma
มะเร็งต่อมหมวกไต
มะเร็งกระดูกสันหลัง
มะเร็งลำไส้
มะเร็งตา
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน
มะเร็งลิ้น
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งรังไข่
มะเร็งต่อมไทรอยด์
อาการโรคมะเร็ง การวินิจฉัยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง
ผู้สื่อข่าวสำนักพิมพ์ไทยรัฐประเทศไทย เดินทางไปสัมภาษณ์โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวถึงเมืองกวางเจา และเห
โครงการ 2,000,000 บาท ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งของมูลนิธิบ่ออ้าย (ประเทศไทย)
งานมอบรางวัล “ผู้กล้าสู้มะเร็งประจำเดือนมีนาคม”
ผู้บริหารของโรงพยาบาลเราได้พบคุณห่าวซีซานสมาชิกสถาบันด้านวิศวกรรมแห่งประเทศจีน เพื่อเสาะหาความร่วมมือและการพัฒนา
กลุ่ม MDT ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีสุขภาพที่แข็งแรงและกลับมามีความมั่นใจอีกครั้ง
นำโรงพยาบาลเข้าสู่มาตรฐาน JCI ยกระดับให้โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว
สุขไปกับชีวิตสายการแพทย์ เติมเต็มคุณค่าของชีวิต
การฝังแร่ไอโอดีน เสียงสวรรค์ของผู้ป่วยมะเร็ง --การประชุมใหญ่ด้านเทคโนโลยีการรักษามะเร็งด้วยการฝังแร่ไอโอดีนครั้งที่ 13 ณ ประเทศจีน