โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานคืออะไร?


โรคเบาหวานเป็นชื่อเรียกรวมของภาวะร่างกายเผาผลาญอาหารผิดปกติ ทำให้ปริมาณอินซูลินในร่างกายลดลงหรือใช้อินซูลินได้ไม่เต็มที่ ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากอธิบายแบบง่ายๆ ก็คือ น้ำตาลในเลือดสูงเกินไป แต่เลือดไม่สามารถนำน้ำตาลเหล่านั้นไปใช้ได้ โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบเห็นได้กว้างขวาง เป็นปัญหาระบบเผาผลาญอาหารของร่างกายที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก โดยบุคคลวัยกลางคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จะมีอัตราการเกิดโรคสูงมาก บางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีอัตราการเกิดโรคเบาหวานสูงถึง 10% ซึ่งหมายความว่า ในจำนวนคนสิบคนจะมีหนึ่งคนที่เป็นผู้ป่วย “โรคเบาหวาน” เมื่อเป็น “โรคเบาหวาน” ก็อาจมีชีวิตสั้นลงสิบกว่าปี และอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนแพร่ไปทั่วร่างกาย

โรคเบาหวานสามารถแบ่งได้เป็น โรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเบาหวานที่เกิดขณะตั้งครรภ์และโรคเบาหวานจากสาเหตุอื่นๆ โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยประมาณ 95% จะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 

โรคเบาหวาน 1


สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานคืออะไร?

โรคเบาหวานเกิดจากความผิดปกติทางเมตาบอลิกหลายอย่างร่วมกัน เนื่องจากระดับคุณภาพชีวิตสูงขึ้น รูปแบบการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป ไม่กี่ปีมานี้ จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุการเกิดโรคเบาหวาน จะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงสำคัญ 5 ปัจจัย ได้แก่

1. ปัจจัยทางพันธุกรรม

โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม หากพ่อแม่เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลูกที่เกิดมาจะมีอัตราการเป็นโรคเบาหวานสูงกว่าคนปกติ 50%

2. อ้วนเกินไป

เนื่องจากคนที่อ้วนเกินไปจะต้องการอินซูลินมากกว่าคนปกติเพื่อให้เซลล์ดูดซึมน้ำตาลได้ แต่ประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินในร่างกายของคนอ้วนจะค่อนข้างต่ำ

3. ปัจจัยการดำเนินชีวิต

ปัจจัยการดำเนินชีวิตก็สามารถก่อให้เกิดโรคเบาหวานได้ การมีเพศสัมพันธ์เกินพอดีจะส่งกระทบต่อสมรรถนะของอวัยวะในร่างกาย การดื่มสุรามากเกินไปก็จะทำลายตับ การทำงานหนักเกินไป กระทบกระเทือนทางจิตใจมากเกินไป เป็นต้น ก็จะทำให้ตับอ่อนเสียหายและก่อให้เกิดโรคเบาหวานได้

4. ปัจจัยทางสรีรวิทยา

ปัจจัยทางสรีรวิทยาสามารถก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่ทำงานหนักเกินไปในสมัยวัยรุ่น จนทำให้สมรรถภาพของเซลล์และอวัยวะในร่างกายได้รับความเสียหายหรือเป็นมาตั้งแต่กำเนิดและพัฒนาไม่เต็มที่ จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ ไต ปอด ตับและหลอดเลือด ทำให้การทำงานของตับอ่อนล้มเหลว การหลั่งอินซูลินไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดโรคเบาหวาน

5. การตั้งครรภ์

ในช่วงระยะเวลาตั้งครรภ์ 24 - 28 สัปดาห์ จะมีอาการน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคเบาหวานได้

อาการของโรคเบาหวานมีอะไรบ้าง?

1. ทานอาหารมากขึ้น : ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะรู้สึกหิวบ่อย ทานอาหารมากขึ้น แต่ก็ยังหิวเหมือนเดิม

2. ปัสสาวะมากขึ้น : ปริมาณปัสสาวะเพิ่มขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง ก็อาจจะถ่ายปัสสาวะหนึ่งครั้ง หากน้ำตาลในเลือดยิ่งสูง ปริมาณกลูโคสในปัสสาวะก็จะยิ่งมาก ปริมาณปัสสาวะก็ยิ่งมากขึ้นด้วย

3. ดื่มน้ำมากขึ้น : เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไปจากการปัสสาวะ ปริมาณน้ำที่ดื่มและจำนวนครั้งที่ดื่มจึงเพิ่มมากขึ้น เพื่อไปทดแทนน้ำที่สูญเสียไป

4.น้ำหนักลด : ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะน้ำหนักตัวลดลง ร่างกายผอมแห้ง ผู้ป่วยที่อาการหนักอาจน้ำหนักลดลงถึงห้ากิโลกรัมเลยทีเดียว ทำให้ไม่มีเรี่ยวแรง อ่อนเพลีย

5. ตาล้า ประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลง : ตาล้าง่าย ประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลงอย่างมาก เมื่อลุกขึ้นยืนตาจะมืด หนังตาตก ตาพร่ามัวมองเห็นไม่ชัด มีอาการจากสายตายาวกลายเป็นสายตาสั้น หรือเป็นสายตาคนแก่อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เป็นต้น

6. มือขาชาและสั่น : ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีอาการมือขาชาและสั่น ทั้งมือและขาเคลื่อนไหวไม่ปกติและรู้สึกปวดเป็นพักๆ ปวดเท้าแบบเส้นประสาทอักเสบอย่างรุนแรง ขาและเท้าชา ปวดเอว ไม่อยากเดิน


โรคเบาหวาน 2


วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานมีอะไรบ้าง

การตรวจเลือดและปัสสาวะทางห้องปฏิบัติการ :

(1) การตรวจวัดน้ำตาลในเลือด : ความถี่และเวลาในการตรวจน้ำตาลในเลือดต้องขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากเป็นโรคเบาหวานในระยะแรก หรือเมื่อมีการปรับแผนการรักษา หรือมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย แนะนำให้เพิ่มจำนวนความถี่ในการตรวจให้เหมาะสม

(2) การตรวจคีโตนในปัสสาวะ : หากผลการตรวจคีโตนในปัสสาวะเป็น + หรือ ++++ แสดงว่าในปัสสาวะมีคีโตน 5 - 160 mg/dl

(3) การตรวจ c-peptide : การตรวจปริมาณของ c-peptide ในเลือดผู้ป่วย สามารถสะท้อนการทำงานของ islet cell (เซลล์ที่ผลิตอินซูลิน)

(4) การตรวจฮีโมโกลบิน (Glycosylatedhemoglobin) : สามารถแสดงให้เห็นถึงสภาพระดับน้ำตาลในเลือดก่อนเจาะเลือด 8 - 12 สัปดาห์ แนะนำให้ 2 - 3 เดือน ไปตรวจหนึ่งครั้ง

(5) การตรวจไขมันในเลือด (ประกอบด้วยคอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ แอลดีแอล คอเลสเตอรอล) : ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักจะมีอาการระดับไขมันในเลือดไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็งตัวหรือโรคหลอดเลือดหัวใจต่างๆ ได้ง่าย

(6) การตรวจการทำงานของตับและไต : โรคไตที่เกิดจากโรคเบาหวานเป็นโรคแทรกซ้อนเรื้อรังที่พบได้บ่อยในโรคเบาหวาน การตรวจปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะ (Urinary albumin) การตรวจการทำงานของไต เป็นต้น มีส่วนช่วยในการตรวจพบโรคไตที่เกิดจากโรคเบาหวานในระยะแรกเริ่ม ในขณะเดียวกันผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่จะอ้วน ไขมันในเลือดไม่สม่ำเสมอ ไขมันพอกตับและการทำงานของตับผิดปกติ จึงต้องตรวจการทำงานของตับและไขมันในเลือดด้วย

(7) การตรวจปัสสาวะ : สามารถแสดงให้เห็นภาวะที่ไตทำงานหนักเกินไป การตรวจปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะและการตรวจปริมาณเฉพาะของโปรตีนในปัสสาวะภายใน 24 ชั่วโมง จะมีส่วนช่วยในการตรวจวินิจฉัยโรคไตที่เกิดจากโรคเบาหวานในระยะแรกเริ่ม

วิธีการรักษาโรคเบาหวาน

1. การรักษาทางโภชนาการ : โดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกายเพื่อให้น้ำตาลในเลือดลดลงเท่ากับค่าปกติ

2. การรักษาด้วยยา : รับประทานยาเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด

3. การรักษาด้วยอินซูลิน : หากรับประทานยาแล้วไม่เกิดผล สามารถเลือกการรักษาโดยการฉีดอินซูลิน

4. การรักษาด้วยแพทย์แผนจีน : การรักษาด้วยแพทย์แผนจีนจะเจาะลงตามชนิดของโรคเบาหวานที่แตกต่างกัน โดยการใช้ยาผสานกับโภชนาการอย่างเหมาะสม ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดน้ำตาลในเลือดและในปัสสาวะ ทำให้อาการบรรเทาลงหรือหายไป หรือลดปริมาณการใช้ยา ทำให้สภาพอาการมีแนวโน้มคงที่และดีขึ้น โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวไม่เพียงแต่มีผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการตรวจและการรักษาด้วยแพทย์แผนจีนมานานหลายปี ยังมีห้องผู้ป่วยแบบ VIP ที่เสนอบริการด้านโภชนาการ มีนักโภชนาการไปให้คำปรึกษาและแนะนำด้านอาหารการกินอีกด้วย


โรคเบาหวาน 3


วิธีการรักษาโรคเบาหวาน

วิธีการรักษาโรคเบาหวานด้วยเซลล์ต้นกำเนิด คือการนำเซลล์ต้นกำเนิดเข้าไปในเนื้อเยื่ออินซูลินโดยผ่านหลอดเลือดแดง ทำให้เซลล์ต้นกำเนิดแตกตัว แบ่งตัวเป็น islet cell ใหม่ แล้วประกอบเป็นเนื้อเยื่ออินซูลินใหม่ ฟื้นฟูการทำงานและปริมาณฮอร์โมนอินซูลิน จึงบรรลุเป้าหมายการรักษาโรคเบาหวาน ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ต้องใช้เซลล์ต้นกำเนิดที่มีคุณภาพสูง โดยการนำเซลล์ต้นกำเนิดจากร่างกายผู้ป่วยมาทำการแบ่งตัวอย่างง่ายๆ แล้วฉีดกลับเข้าไปในร่างกายผู้ป่วยเพื่อทำการรักษา ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วมักจะไม่ได้ผลการรักษาที่ดีมากนัก แต่ทางโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวประเทศจีน จะใช้เทคโนโลยีพิเศษทำการเพาะเลี้ยงแบ่งตัวเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งสามารถให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพดี

มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอด
มะเร็งตับ
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระดูก
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งตับอ่อน
มะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งสมอง
มะเร็งช่องปาก
มะเร็งท่อน้ำดี
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
มะเร็งคอ
มะเร็งถุงน้ำดี
มะเร็งช่องคลอด
มะเร็งองคชาติ
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มะเร็งโพรงจมูก
มะเร็งลำไส้เล็ก
มะเร็งไต
มะเร็งทวารหนัก
มะเร็งอัณฑะ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Multiple myeloma
มะเร็งต่อมหมวกไต
มะเร็งกระดูกสันหลัง
มะเร็งลำไส้
มะเร็งตา
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน
มะเร็งลิ้น
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งรังไข่
มะเร็งต่อมไทรอยด์
อาการโรคมะเร็ง การวินิจฉัยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง
ผู้สื่อข่าวสำนักพิมพ์ไทยรัฐประเทศไทย เดินทางไปสัมภาษณ์โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวถึงเมืองกวางเจา และเห
โครงการ 2,000,000 บาท ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งของมูลนิธิบ่ออ้าย (ประเทศไทย)
งานมอบรางวัล “ผู้กล้าสู้มะเร็งประจำเดือนมีนาคม”
ผู้บริหารของโรงพยาบาลเราได้พบคุณห่าวซีซานสมาชิกสถาบันด้านวิศวกรรมแห่งประเทศจีน เพื่อเสาะหาความร่วมมือและการพัฒนา
กลุ่ม MDT ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีสุขภาพที่แข็งแรงและกลับมามีความมั่นใจอีกครั้ง
นำโรงพยาบาลเข้าสู่มาตรฐาน JCI ยกระดับให้โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว
สุขไปกับชีวิตสายการแพทย์ เติมเต็มคุณค่าของชีวิต
การฝังแร่ไอโอดีน เสียงสวรรค์ของผู้ป่วยมะเร็ง --การประชุมใหญ่ด้านเทคโนโลยีการรักษามะเร็งด้วยการฝังแร่ไอโอดีนครั้งที่ 13 ณ ประเทศจีน