คุณเคยใส่ใจสุขภาพของตนเองบ้างไหม?

ในชีวิตหนึ่งของผู้หญิงผ่านบทบาทมากมาย ทั้งลูกสาว ภรรยา แม่ เหล่านี้ล้วนเป็นบทบาทที่มีนัยสำคัญ

ในฐานะของลูกสาว ความกตัญญูที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับพ่อแม่นั้นก็คือการดูแลร่างกายของตนเองให้ดี อย่าให้พ่อแม่ซึ่งเป็นคนผมขาวต้องมาส่งคนผมดำ

ในฐานะภรรยา ความเอาใจใส่ที่ดีที่สุดสำหรับสามีก็คือการใส่ใจสุขภาพของตนเอง จับมือคอยอยู่เคียงข้างสามีไปจนเฒ่า

ในฐานะแม่ สิ่งที่ดีที่สุดที่สามารถมอบให้ลูกได้ก็คือการดูแลเอาใจใส่ชีวิตของตนเอง เลี้ยงดูลูกให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์

แต่ว่า เพื่อจะทำให้บทบาทเหล่านี้ออกมาดีที่สุด ผู้หญิงมักจะมองข้ามตนเองไปก่อน ส่งผลให้เกิดโรคทางนรีเวชได้ คุณมีการตรวจภายในตามกำหนดหรือไม่? รู้ไหมว่าสิ่งสำคัญที่สุดของการออกกำลังกายไม่ใช่เพื่อลดน้ำหนัก แต่เพื่อรักษาสุขภาพ? แล้วรู้หรือไม่ว่าสุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร จะช่วยให้คุณมีความมั่นใจมากขึ้น สวยงามมากขึ้น และผ่อนคลายมากขึ้น?

คุณเคยใส่ใจสุขภาพของตนเองบ้างไหม?
ตรวจสุขภาพตามกำหนดเพื่อร่างกายที่แข็งแรง
  • มะเร็งเต้านม

    1. แพทย์แนะนำให้ผู้หญิงทุกคนควรมีการตรวจเต้านมทุกเดือน และไปตรวจภายในตามกำหนดอย่างสม่ำเสมอทุกปี

    2. ขณะที่ตรวจด้วยตนเองนั้นหากพบว่ามีก้อนเนื้อ ก็สามารถไปตรวจอัลตร้าซาวด์ที่โรงพยาบาล และดำเนินการตรวจวิเคราะห์แยกแยะเนื้อดีเนื้อร้าย

    3. การตรวจ CT สแกนของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว สามารถช่วยวินิจฉัยโรคได้ชัดเจนขึ้นอีกขั้น มีส่วนช่วยในการกำหนดแผนการรักษา

    คลิกปรึกษา
  •  มะเร็งปากมดลูก

    1. แพทย์แนะนำว่าผู้หญิงทุกคนควรไปตรวจภายในที่โรงพยาบาลตามกำหนดทุกปี

    2. ผู้หญิงสามารถฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป เพื่อปกป้องสุขภาพร่างกาย

    3. การตรวจแปปสเมียร์กับการตรวจ HPV สามารถตรวจคัดกรองอาการในระยะเริ่มต้นได้ ช่วยในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก

    คลิกปรึกษา
  • มะเร็งรังไข่

    1. แพทย์แนะนำให้ผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจภายในที่โรงพยาบาลตามกำหนดทุกครึ่งปี

    2. ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องคลอดตามกำหนด วัดขนาดเล็กใหญ่ของรังไข่ เพื่อค้นพบและป้องกันมะเร็งรังไข่ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ

    3. การตรวจหาค่า CA-125 ในเลือดสามารถช่วยตรวจคัดกรองการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาในรังไข่ได้อย่างแม่นยำ การตรวจ CT สแกนมีความสำคัญต่อการวินิจฉัยระยะโรค

    คลิกปรึกษา
  • มะเร็งช่องคลอด

    1. แพทย์แนะนำให้ผู้หญิงทุกคนไปตรวจภายในตามกำหนดทุกปีให้เป็นนิสัย

    2. การตรวจแปปสเมียร์และคอลโปสโคปตามกำหนด ช่วยให้สามารถค้นพบอาการโรคเล็กๆ น้อยๆ ได้

    3. การตรวจอัลตร้าซาวด์และการตรวจ CT สแกนสามารถบอกตำแหน่งและระยะของโรคได้ชัดเจน มีส่วนช่วยในการกำหนดแผนการรักษา

    คลิกปรึกษา
การออกกำลังกายไม่เพียงเพื่อลดน้ำหนักเท่านั้น
  • มะเร็งเต้านม
    ผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งแนะนำว่า :

    1. หาเวลาว่างในแต่ละวันออกกำลังกายบริหารหน้าอก มีส่วนช่วยป้องกันการเป็นมะเร็งเต้านม

    2. แบ่งเวลาออกกำลังกายเฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยการวิ่งหรือเดินเล่นเป็นหลัก ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านม

  • มะเร็งปากมดลูก
    ผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งแนะนำว่า :

    1. วิ่งอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม มีส่วนช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูก

    2. การออกกำลังกายสามารถเลือกเล่นโยคะหรือการวิ่ง สามารถเพิ่มความยืดหยุ่นให้ร่างกายและยังช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง

  • มะเร็งรังไข่
    ผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งแนะนำว่า :

    1. สำหรับผู้หญิงที่ต้องนั่งเป็นเวลานาน การลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวบ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน มีส่วนช่วยลดการเป็นโรคทางนรีเวช

    2. เพิ่มการออกกำลังกายบริเวณหน้าท้อง จะช่วยลดการสะสมของไขมัน เลือกออกกำลังกายเดินเร็วและแบบแอโรบิก สามารถช่วยป้องกันมะเร็งรังไข่ได้

  • มะเร็งช่องคลอด
    ผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งแนะนำว่า :

    1. การสร้างนิสัยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่เพียงแต่ช่วยในเรื่องของรูปร่างเท่านั้น แต่ยังช่วยลดโอกาสการเป็นโรคทางนรีเวช

    2. การออกกำลังกายที่เป็นรูปแบบกายบริหารและการเต้นรำ ช่วยให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกร้านหดตัว ป้องกันการเป็นมะเร็งช่องคลอด

แนะนำอาหาร
ซุปสาหร่าย
มะเขือนึ่งกระเทียม
 ข้าวฟักทอง
ข้าวต้มลูกเดือยพุทราจีน
ซุปสาหร่าย วิธีการทำ:

1. เตรียมสาหร่าย 50 กรัม

2. ล้างสาหร่ายให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นๆ และใส่ลงในหม้อ

3. เติมน้ำ 5000 มล. ต้มเพียง 20 นาทีก็สามารถรับประทานได้

เคล็ดลับ : สาหร่ายอุดมไปด้วยวิตามิน A มีส่วนช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม และช่วยบรรเทาอาการปวดเต้านม

มะเขือนึ่งกระเทียม วิธีการทำ:

1. เตรียมมะเขือ 2 ลูก กระเทียมและขิงสดในปริมาณที่พอเหมาะ

2. ปลอกเปลือกมะเขือออก หั่นออกเป็นชิ้นๆ ประมาณ 10 ซม. สับกระเทียมและขิงเตรียมไว้

3. วางมะเขือลงบนจาน นำไปนึ่ง 15 นาที

4. นำกระเทียมและขิงที่สับเตรียมไว้ใส่ลงในกระทะและผัดอย่างง่าย หลังจากเปลี่ยนสี ปรุงรสสักเล็กน้อยด้วย น้ำมัน น้ำตาล เกลือ และต้นหอม

5. หลังจากผ่าน 15 นาทีแล้ว นำมะเขือออกมาและเทน้ำออก เครื่องปรุงในขั้นตอนที่ 4 คนให้เข้ากันเป็นอันเสร็จสิ้น

เคล็ดลับ : สารโซลานีนและสารคิวเคอร์บิตาซินในมะเขือมีสรรพคุณในการต้านมะเร็ง การรับประทานเป็นประจำมีส่วนช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูก

ข้าวฟักทอง วิธีการทำ:

1. ฟักทอง 400 กรัม นำเมล็ดออกและหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ข้าว 200 กรัมล้างให้สะอาดเตรียมไว้

2. เทน้ำมันในกระทะตั้งไว้ 7 นาที จากนั้นเทฟักทองใส่ลงไปผัด 1 นาที

3. เทข้าวลงไปผัดรวมกับฟักทอง จากนั้นเติมน้ำลงไป 500 มล. ให้ท่วมข้าวพอดี ตั้งไฟปานกลางทิ้งไว้ 10 นาที

4. จากนั้นใส่เกลือปริมาณพอเหมาะ ผัดให้เข้ากัน ตั้งไฟอ่อนสุดทิ้งไว้ 20 นาทีเพื่อกำจัดความชื้น

เคล็ดลับ : ฟักทองอุดมไปด้วยแคโรทีน มีส่วนในการป้องกันมะเร็งรังไข่

ข้าวต้มลูกเดือยพุทราจีน วิธีการทำ:

1. เตรียมลูกเดือย 50 กรัม เม็ดบัว 20 กรัม พุทราจีน 15 ผล น้ำตาลแดง 15 กรัม

2. ล้างลูกเดือยให้สะอาดและอบให้แห้ง และบดเป็นผงเตรียมไว้

3. ล้างเม็ดบัวและพุทราจีนให้สะอาดและใส่ลงในหม้อตุ๋น เติมน้ำปริมาณพอเหมาะ หลังต้มจนเดือดแล้วเปลี่ยนเป็นไฟอ่อนต้มต่อ 1 ชั่วโมง

4. จากนั้นนำผงลูกเดือยใส่ลงไปต้มต่ออีก 15 นาที หลังจากต้มจนเหนียวแล้วให้เติมน้ำตาลแดง คนให้เข้ากันเป็นอันเรียบร้อย

เคล็ดลับ : พุทราจีนมีวิตามินสูง ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกาย ลูกเดือยช่วยป้องกันมะเร็งช่องคลอด

ใส่ใจสุขภาพ

ผู้หญิงในปัจจุบันนี้ต้องแบกรับความกดดันสามด้าน ทั้งในชีวิตประจำวัน การทำงาน และอารมณ์ความรู้สึก บวกกับลักษณะทางกายภาพของตน ทำให้มักจะพบเจอปัญหากวนใจต่างๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพกายและใจได้ง่ายกว่าผู้ชาย จึงควรใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น

เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการตรวจภายใน จงอย่าละเลยและหลีกเลี่ยงการตรวจ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการออกกำลังกายและการรับประทานอาหาร จงจำไว้ว่าต้องสม่ำเสมอและถูกหลักโภชนาการ สิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณมีสุขภาพที่แข็งแรง ให้คุณสวยอย่างมั่นใจ

ในวันสตรีสากลนี้ เรามาพยายามไปด้วยกันเพื่อปกป้อง “ความสวย” ของคุณ!

แนะนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง