มะเร็งกระเพาะอาหาร

โรคมะเร็งกระเพาะอาหารคืออะไร?

โรคมะเร็งกระเพาะอาหารเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นบริเวณกระเพาะอาหาร ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเยื่อเมือกบุผิวชั้นนอกสุดของผนังกระเพาะอาหาร และสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของกระเพาะอาหาร ( เกิดมากที่สุดบริเวณโพรงกระเพาะอาหารและปากส่วนปลายกระเพาะอาหาร รองลงมาคือเกิดขึ้นที่บริเวณปลายกระเพาะอาหารและบริเวณที่ติดกับหลอดอาหาร ในกระเพาะอาหารค่อนข้างน้อย ) และสามารถลุกลามเข้าไปในผนังกระเพาะในระดับความลึกและความกว้างที่แตกต่างกัน

อัตราการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารสูงแค่ไหน

อัตราการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารของทั่วโลกอยูที่ 17.6/100000 ต่อปี ในประเทศญี่ปุ่น เดนมาร์กเป็นต้น จะมีอัตราการเกิดโรคค่อนข้างสูง แต่สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียมีอัตราการเกิดโรคค่อนข้างต่ำ โดยจะเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ประมาณ 3 ต่อ 1 อัตราการเกิดโรคจะสูงในคนอายุ 50 - 60 ปี

มะเร็งกระเพาะอาหาร

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง


๑ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม : อัตราการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารในแต่ละประเทศและแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน

๒ ปัจจัยด้านอาหารการกิน : การรับประทานธัญญาหารที่ขึ้นรา อาหารหมัก ผักดอง รวมทั้งปลาเค็มมาเป็นระยะเวลานาน อีกทั้งรับประทานเกลือมากเกินไป ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้

๓ ปัจจัยด้านพันธุกรรม : การสำรวจทางระบาดวิทยาพบว่า การเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมีแนวโน้มเกี่ยวพันกับพันธุกรรมทางครอบครัว

๔ ปัจจัยด้านภูมิคุ้มกัน : คนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำจะมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารค่อนข้างสูง



อาการเตือนล่วงหน้าของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมีอะไรบ้าง


๑ ปวดท้อง : เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เริ่มแรกจะมีอาการปวดท้องเป็นเป็นพักๆ ซึ่งมักจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือเป็นแผล เป็นต้น

๒ รู้สึกไม่สบายท้องส่วนบน : ส่วนใหญ่จะรู้สึกแน่นท้องหรือร้อนท้อง สามารถทำให้บรรเทาลงชั่วคราว แต่อีกไม่นานก็กลับมาเป็นใหม่

๓ อยากอาหารน้อยลง เรอ : หลังรับประทานอาหารจะรู้สึกแน่นท้องและจำกัดการรับประทานอาหารเอง เรออยู่บ่อยครั้ง

๔ ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำหรือการตรวจพบเลือดในอุจจาระ : หากไม่ได้รับประทานเต้าหู้เลือดและยาบิสมัท (Bismuth) เป็นต้น แต่มีการถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ ควรรีบไปตรวจที่โรงพยาบาลทันที

๕ มีอาการอ่อนเพลีย ซูบผอม และโลหิตจาง : เป็นอาการที่พบบ่อยของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เนื่องจากความอยากอาหารลดลง ทางเดินอาหารมีการเสียเลือด มีอาการอ่อนเพลีย อ่อนแอ เป็นต้น


อาการมะเร็งกระเพาะอาหาร

การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารทำได้อย่างไร


๑ การตรวจสุขภาพ

๒ การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

๓ การตรวจโดยใช้ภาพถ่ายทางการแพทย์

(๑) การเอกซเรย์กลืนแป้งตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนต้น

(๒) การตรวจ CT Scan ( การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ )

(๓) การตรวจ MRI ( เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า )

(๔) PET-CT Scan

(๕) การตรวจอัลตราซาวด์

๔ การส่องกล้องตรวจภายใน

(๑) การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร ( Gastroscope )

(๒) การส่องกล้องตรวจช่องท้อง ( Laparoscopy )



เทคโนโลยีสำหรับโรคมะเร็งกระเพาะอาหารแบบดั้งเดิมมีอะไรบ้าง


๑ การผ่าตัด : เป็นตัวเลือกแรกสำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารในระยะแรกและระยะกลาง และเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ

๒ เคมีบำบัด : การใช้เคมีบำบัดสามารถใช้เป็นการเสริมหลังการผ่าตัดได้ เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่ยังเหลืออยู่ในร่างกาย สามารถใช้ก่อนการผ่าตัดและระหว่างการผ่าตัด เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง และเพิ่มอัตราการประสบความสำเร็จในการผ่าตัดได้

๓ การฉายรังสี : วิธีนี้สามารถใช้ก่อนการผ่าตัดและระหว่างการผ่าตัด เพื่อยกระดับอัตราการกำจัดเซลล์มะเร็งและผลที่คาดหวังไว้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การฉายรังสียังสามารถใช้บรรเทาอาการและยืดอายุของผู้ป่วยได้



การวินิจฉัยมะเร็งกระเพาะอาหาร

โรคมะเร็งกระเพาะอาหารกับแพทย์แผนจีน


หลังผ่านการค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์จีนมานานหลายปี แพทย์แผนจีนนั้นมีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของร่างกายและช่วยในการต้านมะเร็ง หากบูรณาการข้อดีของการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่าการใช้วิธีหนึ่งวิธีเดียว “การบูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบัน” สามารถใช้ได้ผ่านหลายรูปแบบ เช่น การให้ยาจีนทางหลอดเลือดแดงอย่างต่อเนื่อง การฉีดยาจีนตรงตำแหน่งฝังเข็ม เป็นต้น ซึ่งวิธีการเหล่านี้เป็นรูปแบบบูรณาการในระดับแถวหน้า

ในขั้นตอนทางการแพทย์สำหรับโรคมะเร็งกระเพาะอาหารทุกขั้นตอน สามารถใช้การแพทย์แผนจีนประกอบได้จนถึงขั้นตอนสุดท้าย ข้อดีของกาใช้เทคนิคแบบบูรณาการระหว่างแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันนั้นมีอยู่มากมาย อาศัยรูปแบบการรับประทานยาจีนและการให้ยาจีนทางหลอดเลือดแดง สามารถชดเชยในส่วนที่แพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถทำได้เพียงพอ สามารถป้องกันและลดผลข้างเคียงที่เกิดจากการให้เคมีบำบัดและการฉายรังสี และยังสามารถป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งกลับมาเกิดซ้ำหลังการผ่าตัดและลุกลาม อีกทั้งยังมีจุดเด่นคือช่วยยืดอายุของผู้ป่วย ขณะเดียวกันก็ยกระดับคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้นอีกด้วย


การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร

หลักการรับประทานอาหารหลังการผ่าตัดมีอะไรบ้าง


๑ รับประทานอาหารมื้อละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง

๒ รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง อาหารที่ย่อยง่าย ได้แก่ ข้าวต้ม ซุปไข่ ซุปผัก นม เป็นต้น

๓ รับประทานของหวานและอาหารที่มีไขมันสูงให้น้อยลง

๔ ห้ามรับประทานของเย็นหรืออาหารที่ร้อนเกินไป และห้ามรับประทานเครื่องปรุงรสเผ็ด ห้ามดื่มเครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้น เช่น สุรา ชา เป็นต้น

๕ ป้องกันโรคโลหิตจาง โดยสามารถรับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา กุ้ง ตับของสัตว์ และพุทรา เป็นต้น อย่างเหมาะสม

๖ สำหรับอาหารที่ย่อยยาก ควรเคี้ยวให้ละเอียดและกลืนช้าๆ



มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอด
มะเร็งตับ
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระดูก
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งตับอ่อน
มะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งสมอง
มะเร็งช่องปาก
มะเร็งท่อน้ำดี
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
มะเร็งคอ
มะเร็งถุงน้ำดี
มะเร็งช่องคลอด
มะเร็งองคชาติ
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มะเร็งโพรงจมูก
มะเร็งลำไส้เล็ก
มะเร็งไต
มะเร็งทวารหนัก
มะเร็งอัณฑะ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Multiple myeloma
มะเร็งต่อมหมวกไต
มะเร็งกระดูกสันหลัง
มะเร็งลำไส้
มะเร็งตา
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน
มะเร็งลิ้น
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งรังไข่
มะเร็งต่อมไทรอยด์
อาการโรคมะเร็ง การวินิจฉัยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง
ผู้สื่อข่าวสำนักพิมพ์ไทยรัฐประเทศไทย เดินทางไปสัมภาษณ์โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวถึงเมืองกวางเจา และเห
โครงการ 2,000,000 บาท ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งของมูลนิธิบ่ออ้าย (ประเทศไทย)
งานมอบรางวัล “ผู้กล้าสู้มะเร็งประจำเดือนมีนาคม”
ผู้บริหารของโรงพยาบาลเราได้พบคุณห่าวซีซานสมาชิกสถาบันด้านวิศวกรรมแห่งประเทศจีน เพื่อเสาะหาความร่วมมือและการพัฒนา
กลุ่ม MDT ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีสุขภาพที่แข็งแรงและกลับมามีความมั่นใจอีกครั้ง
นำโรงพยาบาลเข้าสู่มาตรฐาน JCI ยกระดับให้โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว
สุขไปกับชีวิตสายการแพทย์ เติมเต็มคุณค่าของชีวิต
การฝังแร่ไอโอดีน เสียงสวรรค์ของผู้ป่วยมะเร็ง --การประชุมใหญ่ด้านเทคโนโลยีการรักษามะเร็งด้วยการฝังแร่ไอโอดีนครั้งที่ 13 ณ ประเทศจีน