มะเร็งรังไข่

โรคมะเร็งรังไข่คืออะไร?

มะเร็งรังไข่ หมายถึง เซลล์เนื้อร้ายที่เกิดขึ้นในรังไข่ของเพศหญิง เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง เนื่องจากความซับซ้อนของเนื้อเยื่อภายในรังไข่ รวมทั้งสมรรถภาพของต่อมไร้ท่อ จึงยากแก่การวินิจฉัยว่าเนื้องอกนั้นเป็นชนิดดีหรือชนิดร้าย เมื่อตรวจวินิจฉัยแน่ชัด เซลล์มะเร็งของผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็มักจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียงแล้ว

อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งรังไข่อยู่อันดับหนึ่งของแผนกมะเร็งทางสูตินรีเวช กลายเป็นหนึ่งในโรคที่คุกคามชีวิตและสุขภาพร่างกายของผู้หญิงอย่างร้ายแรง หลังจากพบโรคมะเร็งรังไข่แล้ว ผู้ป่วยประมาณ 2 ใน 3 มักจะอยู่ในระยะสุดท้ายแล้ว ดังนั้นอัตราการอยู่รอด 5 ปี มีเพียง 20% - 30% เท่านั้น ผู้ป่วยจำนวนน้อยมากที่สามารถมีชีวิตรอด 3 ปี หลังจากเกิดโรค อายุยิ่งมาก อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งรังไข่ก็สูงตามไปด้วย

แต่สิ่งที่ยังทำให้มีความหวังก็คือ ยิ่งพบโรคมะเร็งรังไข่เร็ว อีกทั้งใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ก็จะสามารถได้รับผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยยืดอายุผู้ป่วยออกไปได้ และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตอีกด้วย 

มะเร็งรังไข่

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งรังไข่มีอะไรบ้าง?

1. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม : ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและหญิงที่อยู่ในชนชั้นสูงจะมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งรังไข่สูง ซึ่งอาจมีความเกี่ยวข้องกับคอเลสเตอรอลในอาหาร นอกจากนี้ รังสีก่อประจุ แร่ใยหิน ผงแป้งทัลคัม ( talcum ) สามารถเพิ่มโอกาสเป็นโรคมะเร็งรังไข่ได้ อีกทั้งการสูบบุหรี่และการขาดวิตามิน A วิตามิน C และ E ก็อาจมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคด้วยเช่นเดียวกัน

2. ปัจจัยด้านฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ : โรคมะเร็งรังไข่มักเกิดขึ้นกับหญิงที่ไม่เคยคลอดบุตรหรือหญิงที่ไม่เคยตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์เหมือนจะมีบทบาทในการต่อต้านมะเร็งรังไข่ ซึ่งทางการแพทย์มีความเห็นว่า เยื่อบุผิวรังไข่ที่ทำให้ไข่ตกถูกทำลายซ้ำไปซ้ำมาทุกวัน มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ นอกจากนี้ โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก จะเกิดพร้อมกับโรคมะเร็งรังไข่ได้ง่าย ซึ่งโรคทั้งสามชนิดนี้มีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ

3. ปัจจัยด้านพันธุกรรมและครอบครัว : ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ประมาณ 20% - 25% จะมีญาติสายตรงเคยเป็นโรคมะเร็งรังไข่

กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งรังไข่สูง

โรคมะเร็งรังไข่มักเกิดกับหญิงที่การทำงานของรังไข่ไม่สมบูรณ์ เช่น กลุ่มคนที่ประจำเดือนครั้งแรกมาช้า วัยหมดประจำเดือนมาเร็ว ปวดประจำเดือน นอกจากนี้ กลุ่มคนที่เป็นโสด เป็นหมัน ทำแท้งบ่อย และมีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็น ก็จะเป็นโรคมะเร็งรังไข่ได้ง่าย

โรคมะเร็งรังไข่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย อายุยิ่งมาก โอกาสเป็นโรคมะเร็งรังไข่ก็มากตามไปด้วย โดยทั่วไปมักพบในหญิงช่วงวัยทองและช่วงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งโรคมะเร็งรังไข่ต่างชนิดกัน การกระจายตามอายุก็จะแตกต่างกัน โรคมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่ออายุหลัง 40 ปี ช่วงอายุที่มีการเกิดโรคสูงจะอยู่ระหว่าง 50 - 60 ปี หลังอายุ 70 ปี ก็จะค่อยๆ ลดลง

สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคมะเร็งรังไข่ ควรสนใจอาการในระยะแรกของโรคมะเร็งรังไข่ รีบตรวจพบโรคเร็ว เพื่อจะได้รับการดูแลโรคมะเร็งรังไข่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาการมะเร็งรังไข่

อาการของโรคมะเร็งรังไข่มีอะไรบ้าง?

1. ปวดบวมบริเวณท้องอย่างต่อเนื่อง

2. ประจำเดือนผิดปกติ มีเลือดออกจากมดลูกแบบผิดปกติ มีเลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน

3. ในระยะสุดท้ายจะมีอาการซูบผอม

ลักษณะที่แสดงออกของโรคมะเร็งรังไข่

1. บริเวณท้องส่วนล่างทั้งสองข้างมีก้อนเนื้อ

2. ก้อนเนื้ออยู่กับที่

3. มีน้ำในท้องค่อนข้างมาก อีกทั้งมีลักษณะเป็นน้ำเลือด

4. เบื่ออาหารเป็นเวลานาน ค่อยๆ ซูบผอม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย

อาการในระยะแรกของโรคมะเร็งรังไข่บางครั้งจะไม่ปรากฏหรือบางครั้งก็จะแสดงออกมา จะไม่แสดงออกต่อเนื่อง ดังนั้น เมื่อปรากฏอาการใดๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น ก็ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อจะได้ตรวจวินิจฉัยและจัดการได้โดยเร็วที่สุด

วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งรังไข่มีอะไรบ้าง?

ไม่กี่ปีมานี้การตรวจวินิจฉัยโดยภาพถ่ายทางการแพทย์ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีความหมายอย่างมากต่อผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่ สามารถช่วยวินิจฉัยระยะของโรคมะเร็งรังไข่ที่แน่ชัด รวมทั้งทำความเข้าใจว่ามีการกลับมาเป็นซ้ำหรือไม่และช่วยในการพยากรณ์โรค

1. การตรวจอัลตราซาวด์ สามารถบอกตำแหน่งก้อนเนื้อที่ช่องกระดูกเชิงกราน ขนาดและลักษณะก้อนเนื้อ ว่าเป็นถุงน้ำหรือเป็นก้อนเนื้อแข็งได้อย่างแน่ชัด

2. การตรวจเอกซเรย์ สามารถทำความเข้าใจตำแหน่งและลักษณะของก้อนเนื้อ วินิจฉัยระยะมะเร็งให้แน่ชัด อีกทั้งมีส่วนช่วยในการตรวจการกลับมาเป็นซ้ำหลังการผ่าตัด

3. การตรวจ CT และการตรวจ MRI

4. การตรวจชิ้นเนื้อ เป็นการตัดชิ้นเนื้อรังไข่ผ่านการส่องกล้องทางช่องท้อง เพื่อนำไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งการตรวจชิ้นเนื้อเป็นวิธีเดียวที่สามารถตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งรังไข่ได้อย่างแม่นยำ การวินิจฉัยโรคมะเร็งรังไข่ในระยะแรกจะลำบากมาก การประสานวิธีการตรวจวินิจฉัยทุกชนิดจะมีส่วนช่วยในการตรวจพบโรคมะเร็งรังไข่ได้โดยเร็วที่สุด

การวินิจฉัยมะเร็งรังไข่

การแพร่กระจายและ การแบ่งระยะของโรคมะเร็งรังไข่

การแบ่งระดับตามการแพร่กระจายโดยมีอัตราการอยู่รอดเฉลี่ย 5 ปี

ระยะ  
สภาวะการกระจาย     
อัตราการอยู่รอด 5 ปี
ระยะที่ 1   

เนื้องอกอยู่แค่ที่รังไข่ นับว่าเป็นโรคมะเร็งรังไข่ในระยะแรก

 90%
ระยะที่ 2  

เนื้องอกมีการเปลี่ยนแปลงที่รังไข่ข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ร่วมกับการลุกลามไปช่องกระดูกเชิงกราน

 70%
ระยะที่ 3  

เนื้องอกมีการเปลี่ยนแปลงที่รังไข่ข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ร่วมกับการลุกลามไปช่องกระดูกเชิงกราน หรือลุกลามไปภายในช่องท้องหรือหลังเยื่อบุช่องท้อง

 60%
ระยะที่ 4 

มีการลุกลามไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป ลุกลามไปยังตับ

 17%

การแบ่งระยะโรคมะเร็งรังไข่มีความสำคัญต่อแผนการและประสิทธิภาพทางการแพทย์ ซึ่งขอบเขตของเนื้องอก ขนาด และการลุกลาม จะส่งผลต่อการเลือกแผนการ นอกจากนี้ อายุของเพศหญิง การมีประจำเดือน รวมทั้งสุขภาพทั้งร่างกาย ก็อาจส่งผลกระทบต่อแผนการและการวินิจฉัยโรคหลังจบขั้นตอนทางการแพทย์อีกด้วย

เทคโนโลยีทางการแพทย์สำหรับโรคมะเร็งรังไข่มีอะไรบ้าง?

สำหรับโรคมะเร็งรังไข่ ควรพิจารณาในหลายด้าน โดยยึดตามอายุของผู้ป่วย สถานภาพการสมรส ระยะ ชนิดเนื้อเยื่อ การแบ่งตัวของเซลล์ ขนาดก้อนเนื้อ ความต้องการมีบุตร เป็นต้น

1. การผ่าตัด : (1) การผ่าตัดเฉพาะเนื้องอก ( รวมทั้งมดลูกที่อยู่ติดกัน เป็นต้น ) (2) การผ่าตัดเนื้องอกแบบขีดจำกัดสูงสุด (3) เมื่อเซลล์มะเร็งมีการลุกลาม ต้องทำการผ่าตัดช่องกระดูกเชิงกราน

2. การฉายรังสีและให้ยาเคมี : วิธีการที่ใช้ร่วมกับการผ่าตัด ประกอบไปด้วยการมห้ยาเคมีและการฉายรังสี เป็นการกำจัดเซลล์มะเร็งด้วยรังสีและยาเคมี บรรลุเป้าหมายยกระดับอัตราความสำเร็จให้สูงขึ้น

3. เทคนิคแบบบาดแผลเล็ก : มีวิธีการหลายประเภท เช่น การทำความเย็น เทคนิคแบบเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือด การบูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบัน การเจาะจงเซลล์มะเร็ง เป็นต้น จะทำให้บาดแผลเล็ก เจ็บปวดน้อย และกำจัดเซลล์มะเร็งได้อย่างแม่นยำ

การรักษามะเร็งรังไข่

โรคมะเร็งรังไข่กับแพทย์แผนจีน

จากการค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์จีนมานานหลายปีพบว่า แพทย์แผนจีนมีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของร่างกายและช่วยในการต้านมะเร็ง ซึ่งการบูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ โดยใช้ยาแผนจีนประสานกับการผ่าตัด การฉายรังสีและเคมีบำบัด สามารถควบคุมเซลล์มะเร็งได้โดยตรง ทำให้ก้อนเนื้อหดเล็กลง ยกระดับภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สูงขึ้น ฟื้นฟูสุขภาพ การบูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันสามารถลดความเจ็บปวดของผู้ป่วย ยกระดับคุณภาพชีวิต ลดการกลับมาเป็นซ้ำและลดการลุกลาม

การดูแลพักฟื้นหลังผ่าตัดควรทำอย่างไร?

การดูแลพยาบาลในชีวิตประจำวัน

1. มีเพศสัมพันธ์อย่างเหมาะสม ระหว่างการทำเคมีบำบัด รวมทั้งหลังผ่าตัดควรงดการมีเพศสัมพันธ์ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์

2. ระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน ปรับรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ดี รวมทั้งพฤติกรรมด้านสุขอนามัย

การดูแลพยาบาลด้านจิตใจ

1. ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและเพื่อนๆ สร้างความมั่นใจที่ดีในด้านการแพทย์

2. ไปตรวจร่างกายซ้ำตามกำหนด

สามารถได้รับการสนับสนุนด้านใดได้บ้าง

โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวมีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งชั้นนำ ซึ่งมีประสบการณ์มากมายในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่ โดยบูรณาการผู้เชี่ยวชาญแต่ละเทคโนโลยีไว้ร่วมกัน เพื่อเสนอวิธีการให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ และประสบความสำเร็จในการกำจัดอาการเจ็บปวดของผู้ป่วยมะเร็งรังไข่จำนวนมาก

สำหรับการเกิดโรคและอาการของโรคมะเร็งรังไข่ โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวจะใช้รูปแบบการบูรณาการแบบเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือดและการฝังแร่ไอโอดีนเป็นหลัก นำมาซึ่งความหวังใหม่ให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ ผู้เชี่ยวชาญเทคนิคแบบเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือดของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวอาศัยประสบการณ์ทางการแพทย์มานานหลายปี ใช้เทคโนโลยีที่ชำนาญการนำยาต้านมะเร็งความเข้มข้นสูงส่งตรงเข้าไปยังหลอดเลือดแดงที่ไปหล่อเลี้ยงมะเร็ง การกำจัดเซลล์มะเร็งของยาจะให้ผลนาน อีกทั้งผลข้างเคียงต่อร่างกายน้อย อาการคลื่นไส้ อาเจียนก็น้อยกว่าการให้ยาทั้งร่างกายอย่างเห็นได้ชัด จากนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านการฝังแร่จะนำแร่ไอโอดีน 125I ฝังตรงเนื้องอก เพื่อกำจัดเนื้องอกซึ่งหดเล็กลงด้วยยาเพิ่มขึ้นอีกขั้นหนึ่ง ช่วยต่อต้านเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน ก็จะอาศัยรูปแบบการบูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันมามาอย่างต่อเนื่อง โดยฉีดยาแผนจีนทางหลอดเลือดดำหรือผ่านรูปแบบการทานยาให้เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งนอกจากจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดแล้ว ยังสามารถฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ยกระดับความสามารถในการต้านมะเร็งอีกด้วย

ในระหว่างการนั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการจะดูจากสภาพร่างกาย ความแตกต่างด้านความเคยชินในการบริโภค เพื่อจัดรายการอาหารที่มีสารอาหารให้กับผู้ป่วยเพศหญิง อาหารทางแพทย์แผนจีน การจัดอาหารการกินที่เหมาะสม จะช่วยยกระดับสมรรถนะภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย ที่นี่อาการของผู้ป่วยมะเร็งรังไข่จะได้รับการควบคุมและดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านหนึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเสนอการบริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจรให้แก่ผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งยกระดับประสิทธิภาพทางการแพทย์ให้สูงขึ้น โดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ป่วย

มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอด
มะเร็งตับ
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระดูก
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งตับอ่อน
มะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งสมอง
มะเร็งช่องปาก
มะเร็งท่อน้ำดี
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
มะเร็งคอ
มะเร็งถุงน้ำดี
มะเร็งช่องคลอด
มะเร็งองคชาติ
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มะเร็งโพรงจมูก
มะเร็งลำไส้เล็ก
มะเร็งไต
มะเร็งทวารหนัก
มะเร็งอัณฑะ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Multiple myeloma
มะเร็งต่อมหมวกไต
มะเร็งกระดูกสันหลัง
มะเร็งลำไส้
มะเร็งตา
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน
มะเร็งลิ้น
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งรังไข่
มะเร็งต่อมไทรอยด์
อาการโรคมะเร็ง การวินิจฉัยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง
ผู้สื่อข่าวสำนักพิมพ์ไทยรัฐประเทศไทย เดินทางไปสัมภาษณ์โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวถึงเมืองกวางเจา และเห
โครงการ 2,000,000 บาท ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งของมูลนิธิบ่ออ้าย (ประเทศไทย)
งานมอบรางวัล “ผู้กล้าสู้มะเร็งประจำเดือนมีนาคม”
ผู้บริหารของโรงพยาบาลเราได้พบคุณห่าวซีซานสมาชิกสถาบันด้านวิศวกรรมแห่งประเทศจีน เพื่อเสาะหาความร่วมมือและการพัฒนา
กลุ่ม MDT ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีสุขภาพที่แข็งแรงและกลับมามีความมั่นใจอีกครั้ง
นำโรงพยาบาลเข้าสู่มาตรฐาน JCI ยกระดับให้โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว
สุขไปกับชีวิตสายการแพทย์ เติมเต็มคุณค่าของชีวิต
การฝังแร่ไอโอดีน เสียงสวรรค์ของผู้ป่วยมะเร็ง --การประชุมใหญ่ด้านเทคโนโลยีการรักษามะเร็งด้วยการฝังแร่ไอโอดีนครั้งที่ 13 ณ ประเทศจีน