การตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมหมวกไต

มะเร็งต่อมหมวกไตเป็นเนื้องอกร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณต่อมหมวกไต ซึ่งจะนำอันตรายร้ายแรงมาสู่ผู้ป่วยได้ ผลการตรวจวินิจฉัยที่แน่ชัดจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยเลือกเทคนิคที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเองได้ดียิ่งขึ้น แล้วการตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมหมวกไตมีอะไรบ้าง?


การวินิจฉัยมะเร็งต่อมหมวกไต


การตรวจด้วยภาพถ่ายทางการแพทย์

1. การตรวจอัลตราซาวด์ : เป็นวิธีแรกในการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมหมวกไต ซึ่งมีประโยชน์ต่อการตรวจดูตำแหน่งก้อนเนื้อ ขนาด รวมทั้งความเกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อรอบข้างในระดับหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเตือนว่า เมื่อพบว่าร่างกายมีอาการไม่สบายใดๆ ก็ควรรีบไปตรวจวินิจฉัยและปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที

2. การตรวจ CT : เป็นการตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมหมวกไตอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งการตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมหมวกไตด้วย CT จะแสดงให้เห็นปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้อง เช่น ขนาดของก้อนเนื้อ ไขมันรอบไตมีมากหรือไม่ รวมถึงความหนาแน่นของก้อนเนื้ออยู่ใกล้กับไขมันโดยรอบหรือไม่ เป็นต้น

(1) มะเร็งต่อมหมวกไตชั้นนอก : พบเห็นได้ค่อนข้างน้อย มักพบในหญิงอายุ 30 – 60 ปี ซึ่ง CT จะแสดงให้เห็นว่า : ก้อนเนื้องอกชนิดกึ่งมะเร็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง > 5 เซนติเมตร รูปร่างขรุขระ ขอบเขตไม่ชัดเจน เกาะติดกับอวัยวะรอบข้าง ความหนาแน่นเท่ากันหรือความหนาแน่นต่ำ ศูนย์กลางเซลล์เนื้อเยื่อที่มีลักษณะการตายแบบ liquefactive necrosis จะมีความหนาแน่นต่ำกว่า ผู้ป่วยส่วนน้อยจะมีการเกาะของแคลเซียมอย่างหนาแน่นบริเวณรอบๆ หรือตรงกลางรอยโรค และอาจจะสามารถลุกลามไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคียงได้

(2) มะเร็งลุกลามมาที่ต่อมหมวกไต : มะเร็งปฐมภูมิ (จุดเกิดมะเร็ง) ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดคือ มะเร็งปอดและมะเร็งเต้านม รองลองมาคือ กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ตับอ่อน เป็นต้น แต่มักจะไม่มีอาการ ซึ่ง CT จะแสดงให้เห็นว่า : ต่อมหมวกไตข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างใหญ่เล็กไม่เท่ากัน เห็นเงารูปร่างของก้อนเนื้อขรุขระ ความหนาแน่นไม่เท่ากัน กลายเป็นถุงน้ำได้ง่าย มีเลือดออก ซึ่งโรคนี้มักจะพบโดยบังเอิญจากการตรวจ CT ด้วยสาเหตุอื่น หากพบจุดเกิดมะเร็ง ก็จะสามารถวินิจฉัยได้แน่ชัด

(3) มะเร็งเซลล์ประสาทต่อมหมวกไต : ค่อนข้างพบเห็นได้บ่อย กว่าครึ่งจะเกิดขึ้นที่ต่อมหมวกไตชั้นใน เป็นเนื้องอกที่มีระดับความร้ายแรงสูงมาก ซึ่ง CT จะแสดงให้เห็นว่า : เป็นก้อนเนื้อแข็งขรุขระ เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อค่อนข้างต่ำ เมื่อเซลล์เนื้องอกตาย กลายเป็นถุงน้ำรวมถึงมีเลือดออก ความหนาแน่นก็จะไม่เท่ากัน ก้อนเนื้องอกมักจะมีเยื่อหุ้ม เนื้องอกที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่อาจจะเติบโตเกินขอบเขต ทั้งยังทะลุออกจากเยื่อหุ้มและรุกล้ำไปยังเนื้อเยื่อรอบข้างได้ง่าย

3. การตรวจ MRI : มีความสำคัญต่อการตรวจและวิเคราะห์แยกแยะเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิด Pheochromocytoma ซึ่ง MRI สามารถแสดงให้เห็นลักษณะเนื้อเยื่อที่ CT ไม่สามารถแสดงให้เห็นได้

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การตรวจการทำงานของต่อมหมวกไตประกอบด้วย : การตรวจฮอร์โมนอีพิเนฟฟริน (Epinephrine) และฮอร์โมนนอร์อีพิเนฟฟริน (Norepinephrine) การตรวจคาทิโคลามินส์ (Catecholamines) การตรวจฮอร์โมน Aldosterone การตรวจฮอร์โมนคอร์ติซอล (Plasma cortisol) เป็นต้น

ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเตือนว่า การไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานตามกำหนด จะมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยตรวจพบโรคได้เร็ว และสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย


มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอด
มะเร็งตับ
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระดูก
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งตับอ่อน
มะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งสมอง
มะเร็งช่องปาก
มะเร็งท่อน้ำดี
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
มะเร็งคอ
มะเร็งถุงน้ำดี
มะเร็งช่องคลอด
มะเร็งองคชาติ
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มะเร็งโพรงจมูก
มะเร็งลำไส้เล็ก
มะเร็งไต
มะเร็งทวารหนัก
มะเร็งอัณฑะ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Multiple myeloma
มะเร็งต่อมหมวกไต
มะเร็งกระดูกสันหลัง
มะเร็งลำไส้
มะเร็งตา
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน
มะเร็งลิ้น
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งรังไข่
มะเร็งต่อมไทรอยด์
อาการโรคมะเร็ง การวินิจฉัยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง
ผู้สื่อข่าวสำนักพิมพ์ไทยรัฐประเทศไทย เดินทางไปสัมภาษณ์โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวถึงเมืองกวางเจา และเห
โครงการ 2,000,000 บาท ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งของมูลนิธิบ่ออ้าย (ประเทศไทย)
งานมอบรางวัล “ผู้กล้าสู้มะเร็งประจำเดือนมีนาคม”
ผู้บริหารของโรงพยาบาลเราได้พบคุณห่าวซีซานสมาชิกสถาบันด้านวิศวกรรมแห่งประเทศจีน เพื่อเสาะหาความร่วมมือและการพัฒนา
กลุ่ม MDT ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีสุขภาพที่แข็งแรงและกลับมามีความมั่นใจอีกครั้ง
นำโรงพยาบาลเข้าสู่มาตรฐาน JCI ยกระดับให้โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว
สุขไปกับชีวิตสายการแพทย์ เติมเต็มคุณค่าของชีวิต
การฝังแร่ไอโอดีน เสียงสวรรค์ของผู้ป่วยมะเร็ง --การประชุมใหญ่ด้านเทคโนโลยีการรักษามะเร็งด้วยการฝังแร่ไอโอดีนครั้งที่ 13 ณ ประเทศจีน