มะเร็งช่องปาก

มะเร็งช่องปากคืออะไร?

มะเร็งช่องปาก เป็นชื่อเรียกรวมของก้อนเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก ประกอบด้วย มะเร็งริมฝีปากมะเร็งเหงือก มะเร็งลิ้น มะเร็งเพดานอ่อนและเพดานแข็ง มะเร็งกระดูกขากรรไกร มะเร็งพื้นปาก มะเร็งใต้ลิ้น มะเร็งต่อมน้ำลายและมะเร็งโพรงโหนกแก้ม รวมทั้งมะเร็งที่เกิดขึ้นที่ชั้นเยื่อเมือกผิวหนังบริเวณใบหน้า เป็นต้น

อัตราการเกิดโรคมะเร็งช่องปากสูงแค่ไหน

ในประเภทของโรคมะเร็งทั้งหมด อัตราการเกิดโรคมะเร็งช่องปากเป็น 1.45% - 5.6% ของโรคมะเร็งในร่างกาย ซึ่งอัตราการเกิดโรคในเพศชายค่อนข้างสูงกว่าในเพศหญิง

มะเร็งช่องปาก 1

สาเหตุการเกิดมะเร็งช่องปากมีอะไรบ้าง

1. มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุรามาเป็นเวลานาน : ผู้ป่วยมะเร็งช่องปากส่วนใหญ่มีประวัติการสูบบุหรี่และการดื่มสุรามาเป็นเวลานาน ผู้ป่วยมะเร็งช่องปากที่ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มสุรานั้นพบได้น้อยมาก

2. สุขอนามัยในช่องปากไม่ดี : พฤติกรรมการดูแลสุขอนามัยในช่องปากไม่ดี เป็นแหล่งให้เชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์อยู่ภายในช่องปาก ดังนั้นจึงเอื้อประโยชน์ให้เกิดการก่อตัวของสารไนโตรซามีน

3. การถูกกระทบจากสิ่งแปลกปลอมเป็นเวลานาน : รากฟันหรือฟันซี่แหลมคม รวมทั้งฟันปลอมที่ไม่พอดีไปกระทบเยื่อเมือกภายในช่องปากเป็นเวลานาน ทำให้เกิดเป็นแผลเรื้อรัง จนกระทั่งอาจกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้

4. ทุพโภชนาการ : อาทิเช่น การขาดวิตามิน A1 และ B2 รวมทั้งสังกะสีและสารอาร์เซนิก ซึ่งเป็นกลุ่มแร่ธาตุปริมาณน้อย จะเพิ่มความไวต่อสารก่อมะเร็งในร่างกาย จึงเกิดเป็นโรคมะเร็งช่องปาก

5. ฝ้าขาว (Leukoplakia) หรือฝ้าแดง (Erythroplakia) ที่เยื่อเมือก : ฝ้าขาวภายในเนื้อเยื่อช่องปากและการเพิ่มขึ้นของฝ้าแดงมักเป็นอาการแสดงก่อนการเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งระยะแรก

6. รังสียูวี : ผู้ที่ออกปฏิบัติงานข้างนอก และโดนแดดส่องเป็นเวลานาน จะมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งช่องปากค่อนข้างสูง

7. รังสีก่อประจุ : รังสีก่อประจุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ DNA กระตุ้นยีนมะเร็ง และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง

8. สาเหตุอื่นๆ : ตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และการติดเชื้อไวรัส เป็นต้น ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำลง และมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก

อาการน่าสงสัยว่าเป็นมะเร็งช่องปากมีอะไรบ้าง?

1. การเปลี่ยนสี : หากภายในช่องปากเปลี่ยนเป็นสีขาว สีน้ำตาลหรือสีดำ หมายความว่าเซลล์ผิวเยื่อเมือกเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเยื่อเมือกภายในช่องปากหยาบขึ้น หนาขึ้นหรือเป็นก้อนแข็ง เกิดฝ้าขาวหรือฝ้าแดงภายในเยื่อเมือกช่องปาก ก็เป็นไปได้ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งแล้ว

2. บาดแผลไม่หาย : โดยทั่วไปการเกิดแผลในช่องปากจะไม่เกินสองสัปดาห์ หากมีอาการ เช่น รู้สึกแสบร้อน เจ็บปวด เป็นต้น เกินสองสัปดาห์ก็ยังไม่ดีขึ้น ต้องระวังว่าอาจเกิดมะเร็งช่องปากก็เป็นได้

3. มีอาการเจ็บปวดชัดเจน : ระยะแรกไม่เจ็บปวดหรือรู้สึกเสียดสีแบบผิดปกติแค่บางส่วน หลังเกิดแผลจะเจ็บปวดอย่างชัดเจน หากมะเร็งมีการลุกลามไปยังเส้นประสาท ก็จะทำให้บริเวณหูและคอหอยปวด

4. ต่อมน้ำเหลืองบวมโต : โรคมะเร็งช่องปากส่วนใหญ่จะลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงบริเวณคอ ทำให้ต่อมน้ำเหลืองบวมโต

5. สมรรถนะช่องปากเกิดอุปสรรค : มะเร็งอาจจะลุกลามไปยังกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อขากรรไกรล่าง ทำให้การอ้าปากและหุบปากถูกจำกัด

การรักษามะเร็งช่องปาก 1

การตรวจมะเร็งช่องปากด้วยตนเอง

1. ตรวจบริเวณหน้าและลำคอ : เมื่อตรวจบริเวณลำคอ ต้องพยายามแหงนศีรษะไปข้างหลัง ตรวจดูว่าบริเวณกระดูกขากรรไกรและบริเวณคอมีความผิดปกติหรือไม่ แล้วค่อยใช้มือสองข้างแยกกันสำรวจลำคอทั้งฝั่งซ้ายและขวา รวมทั้งบริเวณกระดูกขากรรไกรล่าง สังเกตดูว่าบริเวณลำคอและกระดูกขากรรไกรล่างรู้สึกแตกต่างกันหรือไม่

2. ตรวจบริเวณริมฝีปาก : ใช้สายตาสำรวจด้านนอกริมฝีปากบนล่างก่อน จากนั้นค่อยใช้มือคลำสัมผัส แล้วใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้ดึงเปิดริมฝีปากล่างตรวจสอบด้านใน สุดท้ายตรวจด้านในริมฝีปากบน

3. ตรวจเหงือก : ดึงเปิดริมฝีปากตรวจสอบเหงือก พร้อมกับใช้นิ้วชี้คลำสัมผัส สังเกตดูว่าเหมือนกับที่ตรวจครั้งก่อนหรือไม่

4. ตรวจบริเวณแก้ม : ปิดปากเบาๆ ใช้นิ้วหัวแม่มือหรือนิ้วชี้วางบนมุมปากพร้อมกับดึงออกด้านนอก ใช้สายตาสำรวจ ขณะเดียวกันก็ใช้มือคลำสัมผัสบริเวณแก้มทั้งสองข้าง ดูว่ามีความผิดปกติหรือไม่

5. ตรวจลิ้น : แลบลิ้นออก ใช้มือรองผ้ากอซจับลิ้น สำรวจและคลำสัมผัสลิ้น จากนั้นดึงลิ้นไปทางซ้ายและขวา ตรวจดูสองข้างของลิ้น

6. ตรวจสอบใต้ลิ้น : พยายามยกลิ้นขึ้นด้านบน สำรวจและคลำสัมผัสใต้ลิ้น ตรวจดูว่ามีความผิดปกติหรือไม่

7. ตรวจสอบบริเวณคอหอยและเพดานด้านบน : ออกเสียง “อา” สำรวจบริเวณคอหอยในที่ที่มีแสงสว่าง จากนั้นแหงนศีรษะไปทางด้านหลังเล็กน้อย สำรวจพร้อมกับคลำสัมผัสบริเวณเพดานด้านบน

เทคโนโลยีทางการแพทย์สำหรับโรคมะเร็งช่องปากแบบดั้งเดิม

การผ่าตัด : การผ่าตัดออกเป็นวิธีที่ใช้บ่อยในโรคมะเร็งช่องปาก มะเร็งช่องปากระยะแรก เช่น ยังไม่พบการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ สามารถใช้วิธีการผ่าตัดวิธีเดียวได้

การใช้ยาเคมี : การใช้ยาเคมีเพียงวิธีเดียวนั้นน้อยมาก มักใช้ร่วมกับการฉายรังสี เพื่อเพิ่มความไวต่อการฉายรังสี

การฉายรังสี : การฉายรังสีนั้น ไม่ว่าจะใช้วิธีนี้เดี่ยวๆ หรือใช้ควบคู่ไปกับการผ่าตัด ก็มีบทบาทสำคัญสำหรับโรคมะเร็งช่องปาก สามารถเพิ่มสมรรถนะในการเคี้ยว การกลืนและการออกเสียงให้เป็นปกติ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งช่องปากให้สูงขึ้น

โรคมะเร็งช่องปากกับแพทย์แผนจีน

แพทย์แผนจีนไม่เพียงแต่มีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของร่างกายและช่วยในการต้านมะเร็ง ยังสามารถช่วยลดผลข้างเคียงของการให้ยาเคมีและการฉายรังสี ยกระดับภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยอีกด้วย หากบูรณาการข้อดีของการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่าการใช้วิธีเดียว เป็นรูปแบบการบูรณาการในระดับแถวหน้า

มะเร็งช่องปาก 2

การดูแลพักฟื้นหลังการผ่าตัดทำย่างไรบ้าง?

1. หลังการผ่าตัดให้ผู้ป่วยมะเร็งช่องปากทานอาหารเหลว ประมาณหนึ่งสัปดาห์หลังจากนั้นให้เปลี่ยนเป็นอาหารกึ่งเหลว

2. หลังการผ่าตัดควรสำรวจสีแผ่นผิวหนัง อุณหภูมิและความยืดหยุ่นของผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก หากอุณหภูมิแผ่นผิวหนังต่ำลง เกิดสีเขียวม่วงและค่อยๆ หนักขึ้น ควรรีบไปแจ้งแพทย์ทันที

3. ช่วยดูดสารคัดหลั่งออกจากปาก โพรงจมูกและบริเวณคอหอยให้แก่ผู้ป่วยทันที เพื่อให้ระบบทางเดินหายใจทำงานสะดวก

4. หากหลังการผ่าตัดผู้ป่วยมะเร็งช่องปากขาดความสามารถในการพูด ไม่สามารถพูดออกมาตรงๆ ได้ ต้องคอยสังเกตอย่างละเอียดว่าผู้ป่วยมีอาการระบบทางเดินหายใจติดขัดหรือไม่ เช่น กระสับกระส่าย หายใจจมูกบาน เป็นต้น แล้วรีบแจ้งแพทย์ทันที

การรักษามะเร็งช่องปาก 2

สามารถได้รับการสนับสนุนด้านใดได้บ้าง

จากผลการปฏิบัติพิสูจน์ให้เห็นว่า การบริการของทีมแพทย์ซึ่งบูรณาการหลายแขนง เช่น แผนกผ่าตัดเนื้องอก แผนกอายุรกรรมเนื้องอก แผนกแพทย์แผนจีน แผนกพยาธิวิทยา แผนกภาพถ่ายทางการแพทย์ วิสัญญีแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล เป็นต้น ช่วยกำหนดแผนการที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เหมาะสมที่สุด และประหยัดที่สุดให้แก่ผู้ป่วยได้ ช่วยปรับผลลัพธ์ทางการแพทย์ของตัวผู้ป่วยมะเร็งให้ดียิ่งขึ้น

จากระบบทางการแพทย์ที่เน้นการบริการครบถ้วนในครั้งเดียว โดยการบูรณาการหลายแขนงของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว บูรณาการการตรวจให้กับผู้ป่วย ด้านหนึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเสนอการบริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจรให้แก่ผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งยกระดับประสิทธิภาพทางการแพทย์ให้สูงขึ้น โดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้งช่องทางการติดต่อระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีหลายช่องทาง ได้แก่ ทางออนไลน์ ทางอีเมล์ ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะกัน เพื่อขยายช่องทางการบริการให้คำปรึกษา ช่วยให้พวกเขาต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยจะได้พบนั้นประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ และล่ามแปลภาษา เป็นต้น เพื่อตอบสนองความต้องการทุกระดับชั้นของผู้ป่วยจากประเทศที่แตกต่างกันให้เป็นที่พอใจ การพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยช่องทางเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือกับทางโรงพยาบาลได้ดียิ่งขึ้น

มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอด
มะเร็งตับ
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระดูก
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งตับอ่อน
มะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งสมอง
มะเร็งช่องปาก
มะเร็งท่อน้ำดี
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
มะเร็งคอ
มะเร็งถุงน้ำดี
มะเร็งช่องคลอด
มะเร็งองคชาติ
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มะเร็งโพรงจมูก
มะเร็งลำไส้เล็ก
มะเร็งไต
มะเร็งทวารหนัก
มะเร็งอัณฑะ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Multiple myeloma
มะเร็งต่อมหมวกไต
มะเร็งกระดูกสันหลัง
มะเร็งลำไส้
มะเร็งตา
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน
มะเร็งลิ้น
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งรังไข่
มะเร็งต่อมไทรอยด์
อาการโรคมะเร็ง การวินิจฉัยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง
ผู้สื่อข่าวสำนักพิมพ์ไทยรัฐประเทศไทย เดินทางไปสัมภาษณ์โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวถึงเมืองกวางเจา และเห
โครงการ 2,000,000 บาท ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งของมูลนิธิบ่ออ้าย (ประเทศไทย)
งานมอบรางวัล “ผู้กล้าสู้มะเร็งประจำเดือนมีนาคม”
ผู้บริหารของโรงพยาบาลเราได้พบคุณห่าวซีซานสมาชิกสถาบันด้านวิศวกรรมแห่งประเทศจีน เพื่อเสาะหาความร่วมมือและการพัฒนา
กลุ่ม MDT ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีสุขภาพที่แข็งแรงและกลับมามีความมั่นใจอีกครั้ง
นำโรงพยาบาลเข้าสู่มาตรฐาน JCI ยกระดับให้โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว
สุขไปกับชีวิตสายการแพทย์ เติมเต็มคุณค่าของชีวิต
การฝังแร่ไอโอดีน เสียงสวรรค์ของผู้ป่วยมะเร็ง --การประชุมใหญ่ด้านเทคโนโลยีการรักษามะเร็งด้วยการฝังแร่ไอโอดีนครั้งที่ 13 ณ ประเทศจีน