มะเร็งไต

โรคมะเร็งไตคืออะไร?

โรคมะเร็งไต คือ เนื้องอกร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุผิวของ uriniferous tubule ซึ่งเป็นท่อเล็กๆ มีหน้าที่นำน้ำปัสสาวะไหลลงสู่กรวยไต โดยทั่วไปความเร็วในการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า แต่บางครั้งก็เร็วมาก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดก็ได้ในเนื้อไต โรคมะเร็งไตสามารถค่อยๆ ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อกับอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังสามารถลุกลามสู่ภายนอกได้โดยผ่านต่อมน้ำเหลืองหรือหลอดเลือดดำ

อัตราการเกิดโรคมะเร็งไต

มะเร็งไตเป็นหนึ่งในเนื้องอกร้ายที่พบบ่อยในระบบขับถ่ายปัสสาวะ อัตราการเกิดโรคมะเร็งไตเป็น 3% - 6% ของโรคมะเร็งทั้งหมดในร่างกาย เมื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยมะเร็งไตเพศชายกับเพศหญิงอัตราส่วนอยู่ที่ 2 : 1 สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ ช่วงอายุที่มีอัตราการเกิดโรคสูงคือ 50 - 70 ปี

โรคมะเร็งไตคืออะไร

อัตราการอยู่รอดของโรคมะเร็งไต

ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยมะเร็งไตมีอยู่มากมาย ซึ่งโดยทั่วไปนั้น หลังจากผู้ป่วยมะเร็งไตได้รับการผ่าตัดออกไปแล้ว จะมีอัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณ 35% - 40% อัตราการอยู่รอด 10 ปี ประมาณ 17% - 30% บางครั้งการวินิจฉัยโรคมะเร็งไตอาจทำได้ยาก สามารถเกิดการลุกลามของจุดเกิดโรคหลังจากการผ่าตัดมะเร็งไตไปแล้ว 20 ปี 30 ปี หรือแม้กระทั่งเวลานานกว่านั้นก็เป็นได้

สาเหตุใดบ้างที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งไต?

อัตราการเกิดโรคมะเร็งไตนั้นสูงมาก แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งไตอย่างแน่นอนยังไม่ชัดเจน การเกิดโรคมะเร็งไตอาจเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงหลายด้านร่วมกัน ได้แก่

1. การสูบบุหรี่ : ผู้ที่สูบบุหรี่ 30 ปีขึ้นไป อีกทั้งสูบบุหรี่ที่ไม่มีก้นกรองจะมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งไตสูงมาก

2. อ้วนและความดันโลหิตสูง : อ้วนและความดันโลหิตสูงเป็นสองปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งไตในเพศชาย

3. อาชีพ : คนงานในโรงพิมพ์ คนงานถ่านหิน ผู้ที่ทำงานด้านกิจการซักแห้งและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี จะเพิ่มอัตราการเกิดโรคมะเร็งไตและความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

4. การฉายรังสี : สัมผัสกับแหล่งกำเนิดรังสีอ่อนเป็นเวลานานอาจจะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งไต

5. พันธุกรรม : ในวงศ์ตระกูลมีผู้ป่วยโรคมะเร็งไต อัตราเสี่ยงการเกิดโรคก็จะสูงกว่าคนทั่วไป

6. อาหารและยา : จากการสำรวจพบว่า การทานผลิตภัณฑ์นม โปรตีนสัตว์และไขมันมาก แต่ทานผลไม้และผักน้อย ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งไตได้

อาการมะเร็งไต

อาการโรคมะเร็งไตมีอะไรบ้าง?

1. ไม่มีอาการชัดเจน : ปัจจุบัน โรคมะเร็งไตประมาณ 40% ขึ้นไป จะพบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพหรือการตรวจร่างกายด้วยสาเหตุอื่น ไม่มีอาการที่ชัดเจนหรือสัญญาณของร่างกายใดๆ มะเร็งไตในระยะแรกหลังจากได้รับการดูแลแล้ว โดยทั่วไปการพยากรณ์โรคจะดี ด้วยเหตุนี้ ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้ไปตรวจสุขภาพตามกำหนด

2. อาการตัวอย่างเฉพาะส่วน : ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดเอว มีก้อนเนื้อบริเวณท้อง เป็นสามอาการหลักที่สำคัญของมะเร็งไต เมื่ออาการทั้งสามเกิดขึ้นกับร่างกายของผู้ป่วย มักจะคาดเดาได้ว่าอาการพัฒนามาถึงขั้นสุดท้ายแล้ว แต่เหตุการณ์นี้จะน้อยมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะปรากฏอาการเพียงหนึ่งหรือสองอาการจากสามอาการข้างต้น

(1) ปัสสาวะเป็นเลือด : ผู้ป่วยมะเร็งไตประมาณ 40% จะปัสสาวะเป็นเลือด สามารถมองเห็นปัสสาวะเป็นเลือดได้ด้วยตาเปล่า หรือมองเห็นจากการส่องกล้อง เมื่อปัสสาวะออกมาเป็นเลือดจำนวนมากโดยมีลิ่มเลือด สามารถปรากฏอาการปวดบีบรัดที่ไต ปัสสาวะแล้วเจ็บ ปัสสาวะลำบาก แม้กระทั่งปัสสาวะคลั่ง

(2) ก้อนเนื้อ : ไตจะอยู่หลังเยื่อบุช่องท้อง ในตำแหน่งลึก เมื่อคลำตรวจบริเวณท้องจะไม่พบ จนเมื่อเนื้องอกมีขนาดค่อนข้างใหญ่หรืออยู่ที่ด้านล่างสุดของไตถึงจะคลำตรวจพบ ผู้ป่วยประมาณ 10% - 40% สามารถคลำพบก้อนเนื้อบริเวณท้อง บางครั้งอาจจะเป็นเพียงอาการเดียวที่พบ

(3) เจ็บปวด : การปวดเอว เนื่องจากเนื้องอกใหญ่ขึ้นทำให้ความตึงของส่วนรีนัลแคปซูล ( ส่วนนอกสุดที่หุ้มรอบไต ) เพิ่มขึ้นหรือเนื้องอกรุกล้ำเนื้อเยื่อโดยรอบ ทำให้มีอาการปวดตื้ออย่างต่อเนื่อง อัตราการเกิดความเจ็บปวดประมาณ 20% - 40% หากมีอาการที่เกี่ยวข้องควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที หลีกเลี่ยงไม่ให้อาการยืดเยื้อ

3. อาการตามร่างกาย : ผู้ป่วยประมาณ 10% - 40% จะมีกลุ่มอาการร่วมกับเนื้องอก เช่น ความดันโลหิตสูง โลหิตจาง น้ำหนักลดลง ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก เป็นไข้ ภาวะเม็ดเลือดแดงมาก ตับทำงานผิดปกติ เป็นต้น

4. อาการลุกลาม : เนื่องจากมะเร็งมีการลุกลาม ผู้ป่วยอาจจะไปพบแพทย์จากอาการปวดกระดูก กระดูกหัก ไอ อาเจียนเป็นเลือด เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยประมาณ 10% ไปพบแพทย์เพราะปรากฏอาการลุกลามเหล่านี้

อาการของโรคมะเร็งไตเปลี่ยนแปลงไปได้มากมาย หากมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที และต้องทำการตรวจที่เกี่ยวข้อง

วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งไตมีอะไรบ้าง?

การวินิจฉัยโรคมะเร็งไตโดยหลักจะอาศัยการตรวจจากภาพถ่ายทางการแพทย์ ซึ่งการวินิจฉัยแน่ชัดต้องใช้การตรวจทางพยาธิวิทยา

1. การตรวจจากภาพถ่ายทางการแพทย์

การตรวจเอกซเรย์ : การถ่ายภาพ plain film บริเวณเอว สามารถแสดงให้เห็นบริเวณที่ถ่ายภาพรังสีที่ไตในตำแหน่งรอยโรคซึ่งขยายใหญ่ขึ้น และภาพถ่ายกล้ามเนื้อ psoas major บริเวณเอวที่ไม่ชัด ภาพถ่ายกรวยไตมักจะแสดงให้เห็นภาพกรวยไตหรือกลีบกรวยไตได้รับการกดทับ เปลี่ยนรูปร่าง ยาวขึ้นหรือบิดกลับ เป็นต้น

การตรวจอัลตราซาวด์ : สามารถแยกแยะก้อนเนื้อแข็งและซีสต์ที่ไตได้อย่างแม่นยำ และยังสามารถแสดงให้เห็นขอบเขตของมะเร็งไต มะเร็งมีการรุกล้ำไปอวัยวะใกล้เคียงหรือไม่ มีการลุกลามไปที่ตับและม้ามหรือไม่

การตรวจ CT : โดยหลักจะใช้วินิจฉัยรอยโรคที่ไต อัตราความแม่นยำในการแยกแยะความแตกต่างระหว่างซีสต์และก้อนเนื้อแข็งสูงถึง 95% สามารถประเมินขนาดของก้อนมะเร็ง ลักษณะภายนอก ระดับความหนาแน่น มีเลือด ของเหลว เนื้อเยื่อตายหรือไม่ มีการรุกล้ำหรือลุกลามไปเนื้อเยื่อโดยรอบหรือไม่ ได้อย่างค่อนข้างแม่นยำ

การตรวจ MRI : สามารถแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างก้อนแข็งของไตและซีสต์ที่ไตได้อย่างชัดเจน

2. การตรวจทางพยาธิวิทยา

การตรวจชิ้นเนื้อที่ไตสามารถตรวจวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาในระยะแรกได้

การวินิจฉัยมะเร็งไต

ระยะของโรคมะเร็งไต

ตามวิธีการแบ่งระยะของ Robson โรคมะเร็งไตสามารถแบ่งระยะได้ดังต่อไปนี้

ระยะ1 : มะเร็งอยู่ที่ส่วนรีนัลแคปซูล ( ส่วนที่อยู่ด้านนอกสุดหุ้มรอบไต )

ระยะ2 : มะเร็งรุกล้ำเข้าส่วนไขมันรอบไต แต่จำกัดอยู่ในบริเวณเยื่อหุ้มรอบไต

ระยะ3 : แบ่งเป็นระยะ3a ระยะ3b และระยะ3c :

ระยะ3a : มะเร็งรุกล้ำเข้าหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดดำใหญ่

ระยะ3b : บริเวณต่อมน้ำเหลืองถูกรุกล้ำ

ระยะ3c : รุกล้ำเข้าหลอดเลือดดำของไต หลอดเลือดดำใหญ่ และต่อมน้ำเหลืองพร้อมกัน

ระยะ4 : จะแบ่งเป็นระยะ4a และระยะ4b

ระยะ4a : มะเร็งลุกลามไปอวัยวะใกล้เคียงนอกต่อมหมวกไต

ระยะ4b : มะเร็งลุกลามไปถึงอวัยวะส่วนอื่นที่อยู่ไกลออกไป

เทคโนโลยีทางการแพทย์สำหรับโรคมะเร็งไต

หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งและแบ่งระยะแล้วนั้น แพทย์จะพูดถึงแผนการทางการแพทย์ต่างๆ ในเวลานี้ การใช้เวลาคิดพิจารณาเลือกแผนการเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ส่งผลกระทบคือ ระยะของโรคมะเร็ง ปัจจัยที่ต้องพิจารณาอื่นๆ รวมถึงสภาพร่างกายของผู้ป่วย ผลข้างเคียงของแผนการ ดูว่าสามารถมีส่วนช่วยในการยืดอายุ บรรเทาอาการหรือไม่ เป็นต้น

หากเป็นมะเร็งไต วิธีการที่เลือกใช้ ได้แก่ การศัลยกรรมผ่าตัด การฉายรังสี การเจาะจงเซลล์มะเร็ง การใช้เทคนิคภูมิคุ้มกัน การให้ยาเคมี หรือการใช้วิธีการเหล่านี้ร่วมกัน

1. การศัลยกรรมผ่าตัด

(1) การผ่าตัดไตแบบดั้งเดิม : จะผ่าตัดไตทั้งหมด ต่อมหมวกไตและเนื้อเยื่อไขมันรอบไตออกไป ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เคียงก็จะผ่าตัดออกเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงได้แต่อาศัยไตข้างหนึ่งในการกรองปัสสาวะ

(2) การผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลือง : เมื่อมะเร็งไปถึงต่อมน้ำเหลือง แพทย์จำนวนมากเมื่อทำการผ่าตัดไตแบบดั้งเดิม ก็จะผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองด้วย

(3) การผ่าตัดไตบางส่วน : ผ่าตัดเนื้อเยื่อไตส่วนที่เป็นมะเร็ง

(4) การผ่าตัดจุดที่ลุกลาม : ผ่าตัดมะเร็งที่มีการลุกลาม มีส่วนช่วยในการบรรเทาความเจ็บปวดและอาการของผู้ป่วย

2. การทำความเย็น

เป็นการใช้เข็มให้ความเย็นเจาะลงไปในก้อนมะเร็ง แล้วให้ก๊าซอาร์กอน ภายใต้การนำทางของเครื่องอัลตราซาวด์หรือ CT ทำให้อุณหภูมิภายในก้อนมะเร็งลดลงอย่างรวดเร็ว จากนั้นเปลี่ยนเป็นให้ก๊าซฮีเลียม ให้ก้อนน้ำแข็งคืนอุณหภูมิ ทำสลับกันอย่างน้อย 2 รอบ มีบทบาทในการกำจัดเนื้อเยื่อมะเร็ง

3. การใช้คลื่นความถี่สูง

เป็นการใช้คลื่นความถี่พลังงานสูงทำให้ก้อนมะเร็งร้อนขึ้น โดยใช้เข็มเจาะผ่านผิวหนังลงไปที่ก้อนมะเร็ง ภายใต้การนำของเครื่องถ่ายภาพทางการแพทย์ อาศัยคลื่นความถี่ เพิ่มความร้อนให้ก้อนมะเร็ง ทำลายเซลล์มะเร็ง

4. การฉายรังสี

เป็นการใช้รังสีพลังงานสูง ( เช่น รังสีเอกซเรย์ ) มากำจัดหรือทำให้เซลล์มะเร็งเล็กลง

5. การเจาะจงเซลล์มะเร็ง

เป็นการควบคุมการเติบโตของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงมะเร็งและเซลล์มะเร็งที่เติบโตในส่วนอื่นๆ

6. การใช้เทคนิคภูมิคุ้มกัน

เป็นการเพิ่มสมรรถภาพระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อต่อต้านหรือทำลายเซลล์มะเร็ง

7. การใช้ยาเคมี

เป็นการฉีดยาต้านมะเร็งเข้าไปในหลอดเลือดหรือทานยา ซึ่งยาเหล่านี้จะไปตามกระแสเลือดทั่วร่างกาย

การรักษามะเร็งไต


แพทย์แผนจีน

จากการค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์จีนมานานหลายปีพบว่า แพทย์แผนจีนมีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของร่างกายและช่วยในการต้านมะเร็ง ยาแพทย์แผนจีนสามารถเชื่อมโยงกับทั้งขั้นตอนต่างๆ และผสานกับวิธีการอื่นๆ มีบทบาทในการเพิ่มประสิทธิภาพการลดความเป็นพิษ แพทย์แผนจีนอย่างเดียวจะควบคุมการพัฒนาของมะเร็ง ปรับคุณภาพชีวิต และมีประสิทธิภาพทางการแพทย์ นอกจากนี้ยังมีวิธีการอื่นๆอีก เช่น การฝังเข็ม การฉีดยาจีนตรงตำแหน่งฝังเข็ม การนวด การฝึกลมปราณ เป็นต้น มีส่วนช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยมะเร็งไตได้

สามารถได้รับการสนับสนุนด้านใดได้บ้าง

จากผลการปฏิบัติพิสูจน์ให้เห็นว่า การบริการของทีมแพทย์ซึ่งบูรณาการหลายแขนง เช่น แผนกผ่าตัดเนื้องอก แผนกอายุรกรรมเนื้องอก แผนกแพทย์แผนจีน แผนกพยาธิวิทยา แผนกภาพถ่ายทางการแพทย์ วิสัญญีแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล เป็นต้น ช่วยกำหนดแผนการที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เหมาะสมที่สุด และประหยัดที่สุดให้แก่ผู้ป่วยได้ ช่วยปรับผลลัพธ์ทางการแพทย์ของผู้ป่วยมะเร็งให้ดียิ่งขึ้น

จากระบบทางการแพทย์ที่เน้นการบริการครบถ้วนในครั้งเดียว โดยการบูรณาการหลายแขนงของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว บูรณาการการตรวจให้กับผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวได้เสนอการบริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจรให้แก่ผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งยกระดับประสิทธิภาพทางการแพทย์ให้สูงขึ้น โดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้งช่องทางการติดต่อระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีหลายช่องทาง ได้แก่ ทางออนไลน์ ทางอีเมล์ ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะกัน เพื่อขยายช่องทางการบริการให้คำปรึกษา ช่วยให้พวกเขาต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยจะได้พบนั้นประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ และล่ามแปลภาษา เป็นต้น เพื่อตอบสนองความต้องการทุกระดับชั้นของผู้ป่วยจากประเทศที่แตกต่างกันให้เป็นที่พอใจ การพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยช่องทางเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือกับทางโรงพยาบาลได้ดียิ่งขึ้น


มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอด
มะเร็งตับ
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระดูก
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งตับอ่อน
มะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งสมอง
มะเร็งช่องปาก
มะเร็งท่อน้ำดี
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
มะเร็งคอ
มะเร็งถุงน้ำดี
มะเร็งช่องคลอด
มะเร็งองคชาติ
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มะเร็งโพรงจมูก
มะเร็งลำไส้เล็ก
มะเร็งไต
มะเร็งทวารหนัก
มะเร็งอัณฑะ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Multiple myeloma
มะเร็งต่อมหมวกไต
มะเร็งกระดูกสันหลัง
มะเร็งลำไส้
มะเร็งตา
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน
มะเร็งลิ้น
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งรังไข่
มะเร็งต่อมไทรอยด์
อาการโรคมะเร็ง การวินิจฉัยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง
ผู้สื่อข่าวสำนักพิมพ์ไทยรัฐประเทศไทย เดินทางไปสัมภาษณ์โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวถึงเมืองกวางเจา และเห
โครงการ 2,000,000 บาท ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งของมูลนิธิบ่ออ้าย (ประเทศไทย)
งานมอบรางวัล “ผู้กล้าสู้มะเร็งประจำเดือนมีนาคม”
ผู้บริหารของโรงพยาบาลเราได้พบคุณห่าวซีซานสมาชิกสถาบันด้านวิศวกรรมแห่งประเทศจีน เพื่อเสาะหาความร่วมมือและการพัฒนา
กลุ่ม MDT ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีสุขภาพที่แข็งแรงและกลับมามีความมั่นใจอีกครั้ง
นำโรงพยาบาลเข้าสู่มาตรฐาน JCI ยกระดับให้โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว
สุขไปกับชีวิตสายการแพทย์ เติมเต็มคุณค่าของชีวิต
การฝังแร่ไอโอดีน เสียงสวรรค์ของผู้ป่วยมะเร็ง --การประชุมใหญ่ด้านเทคโนโลยีการรักษามะเร็งด้วยการฝังแร่ไอโอดีนครั้งที่ 13 ณ ประเทศจีน