ครอบครัวจะดูแลผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไร

สำหรับหมอแล้วครอบครัวของผู้ป่วยคือผู้ช่วยที่ดีที่สุด แต่การเป็นครอบครัวที่ดีของผู้ป่วยนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย พวกเขาต้องเสียสละอย่างมาก ต้องทำอย่างไรจึงจะเป็นครอบครัวที่ดีของผู้ป่วยได้ ครอบครัวจะต้องตระหนักถึงหลัก 5 ข้อดังต่อนี้ :

การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ข้อ 1 : ปรับสภาพจิตใจของตัวเอง

เมื่อคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็ง ครอบครัวของผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ต้องรู้สึกตกใจอย่างมากด้วยเช่นกัน ต้องประสบช่วงเวลาอันตึงเครียด วิตกกังวลหรือกระทั่งความหวาดกลัว คิดถึงอนาคตข้างหน้าต้องดูแลผู้ป่วย มีผลกระทบต่อการเรียน การทำงาน รวมถึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ครอบครัวเองก็มักจะต้องแบกรับแรงกดดันอันหนักอึ้งนี้ ดังนั้นคนในครอบครัวมีความจำเป็นต้องปรับสภาพจิตใจของตัวเอง ยอมรับความจริง มีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นต่อภาระที่เพิ่มมากขึ้น และต้องเชื่อว่าหลังจากรับการรักษาแล้วผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่จะมีอาการที่ดีขึ้น มีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น

ข้อ 2 : .มอบความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ การปลอบประโลมและการดูแลใส่ใจให้แก่ผู้ป่วย

เมื่อคนในครอบครัวดูแลผู้ป่วยมักจะต้องเล่นบทบาทของจิตแพทย์ ซึ่งสำคัญมาก เมื่อผู้ป่วยมีความกังวล ข้อสงสัย ความกลัว ฯลฯ ผู้ที่จะเข้าใจได้มากที่สุดคือบุคคลที่ใกล้ชิดอย่างคนในครอบครัว ความต้องการบางอย่างที่ผู้ป่วยต้องการเป็นพิเศษ ครอบครัวควรเข้าใจและทำให้เขาพอใจ อย่าใจร้อนกับผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอ่อนไหวต่อการใช้ชีวิตโดดเดี่ยวเป็นอย่างมาก มักจะรู้สึกว่าตนเองถูกทอดทิ้ง หากไม่มีการสนับสนุนจากคนในครอบครัว ผู้ป่วยจะรู้สึกขาดที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ทำให้สูญเสียกำลังใจในการรักษา

ข้อ 3 : พูดคุยสื่อสารกับแพทย์และพยาบาลเจ้าของไข้ให้มาก

คนในครอบครัวควรพูดคุยกับแพทย์ประจำตัวผู้ป่วยและพยาบาลผู้เชี่ยวชาญให้มาก เพื่อเข้าใจแผนการรักษาของแพทย์และการเตรียมการ สนับสนุนให้กำลังใจผู้ป่วยเข้ารับการรักษา ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในเรื่องของการเตรียมความพร้อมก่อนและหลังการรักษา มีความเข้าใจถึงอาการและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังการรักษา สังเกตอาการผู้ป่วยและรายงานให้แพทย์ทราบอย่างถูกต้องและทันเวลา เพื่อสร้างการสื่อสารที่ดีระหว่างแพทย์และผู้ป่วย

ข้อ 4:การดูแลชีวิตประจำวันของผู้ป่วย

ครอบครัวจำเป็นต้องเตรียมการอาหารกิน ชีวิตประจำวัน และการออกกำลังฟื้นฟูให้ผู้ป่วยอย่างเหมาะสม มั่นศึกษาความรู้และทักษะในการดูแล สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืนควรอยู่เคียงข้างผู้ป่วยให้มากขึ้น ให้ความช่วยเหลือ ทั้งการป้อนข้าว ประคองตัว การอาบน้ำ และรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยในระยะฟื้นตัว ครอบครัวต้องปลูกฝังให้พวกเขามีความคิดที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ ความใส่ใจที่มีมากเกินไปอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่ หรือทำให้พวกเขามีจิตใจพึ่งพาผู้อื่น ซึ่งจะเป็นผลกระทบต่อความสามารถในการปรับตัวให้เข้าชีวิตประจำวันของผู้ป่วย

ข้อที่ 5:ใส่ใจสุขภาพกายและใจของตนเอง ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

ขณะที่คนในครอบครัวให้การดูแลผู้ป่วย เวลาเดียวกันก็ต้องวุ่นกับชีวิตประจำวันของตนเอง ต้องแบกรับภาระทางจิตใจมากมาย ภายใต้แรงกดดันระยะยาวนี้ คนในครอบครัวอาจจะรู้สึกเหนื่อยหรือขาดกำลังใจ อารมณ์ไม่มั่นคง ดังนั้นหากจะดูแลผู้ป่วยให้ดี คนในครอบครัวเองต้องทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอด้วย ทุกคนในครอบครัวต้องสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อผู้ป่วยและครอบครัว ต้องไม่มีการตำหนิกันและกัน ไม่ทะเลาะ ควรยับยั้งชั่งใจและเสริมสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน ในความเป็นจริงทุกครอบครัวเมื่อพบกับความลำบากยิ่งเป็นการเพิ่มความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น การเผชิญหน้ากับความลำบากร่วมกันจะช่วยให้ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น

มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอด
มะเร็งตับ
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระดูก
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งตับอ่อน
มะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งสมอง
มะเร็งช่องปาก
มะเร็งท่อน้ำดี
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
มะเร็งคอ
มะเร็งถุงน้ำดี
มะเร็งช่องคลอด
มะเร็งองคชาติ
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มะเร็งโพรงจมูก
มะเร็งลำไส้เล็ก
มะเร็งไต
มะเร็งทวารหนัก
มะเร็งอัณฑะ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Multiple myeloma
มะเร็งต่อมหมวกไต
มะเร็งกระดูกสันหลัง
มะเร็งลำไส้
มะเร็งตา
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน
มะเร็งลิ้น
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งรังไข่
มะเร็งต่อมไทรอยด์
อาการโรคมะเร็ง การวินิจฉัยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง
ผู้สื่อข่าวสำนักพิมพ์ไทยรัฐประเทศไทย เดินทางไปสัมภาษณ์โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวถึงเมืองกวางเจา และเห
โครงการ 2,000,000 บาท ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งของมูลนิธิบ่ออ้าย (ประเทศไทย)
งานมอบรางวัล “ผู้กล้าสู้มะเร็งประจำเดือนมีนาคม”
ผู้บริหารของโรงพยาบาลเราได้พบคุณห่าวซีซานสมาชิกสถาบันด้านวิศวกรรมแห่งประเทศจีน เพื่อเสาะหาความร่วมมือและการพัฒนา
กลุ่ม MDT ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีสุขภาพที่แข็งแรงและกลับมามีความมั่นใจอีกครั้ง
นำโรงพยาบาลเข้าสู่มาตรฐาน JCI ยกระดับให้โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว
สุขไปกับชีวิตสายการแพทย์ เติมเต็มคุณค่าของชีวิต
การฝังแร่ไอโอดีน เสียงสวรรค์ของผู้ป่วยมะเร็ง --การประชุมใหญ่ด้านเทคโนโลยีการรักษามะเร็งด้วยการฝังแร่ไอโอดีนครั้งที่ 13 ณ ประเทศจีน