PET-CT สแกนเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจรักษามะเร็ง

PET-CT สแกน, การรักษาที่เจาะจงเซลล์มะเร็ง

  ในการประชุม ASCO ประจำปี2013 ศูนย์มะเร็งกษัตริย์ฮุสเซน มอบเอกสารรับรองรายงานอีกครั้งว่าเทคโนโลยี PET-CT สแกนเป็นเครื่องมือที่มีเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามะเร็ง นอกจากจะใช้วินิจฉัยมะเร็งในระยะแรกแล้ว PET-CTสแกนยังช่วยประเมินการตอบสนองและประสิทธิผลหลังการรักษาของผู้ป่วยมะเร็ง เพื่อกำหนดแผนการรักษาที่แม่นยำ เช่น สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือเป็นการรักษาแบบประคับประคอง หรือในขั้นตอนของการรักษาด้วยการฉายรังสีจะสามารถรักษาให้แม่นยำตรงเป้าหมายได้อย่างไร

  การทดลองเริ่มขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2010 จนกระทั่งเดือนมิถุนายน 2012 ได้ทำการสำรวจการรักษาโรคมะเร็งแผนกนารีเวชจาก 40 ตัวอย่างของศูนย์มะเร็งกษัตริย์ฮุสเซน (ประกอบด้วยการรักษามะเร็งมดลูก 23ตัวอย่าง การรักษามะเร็งรังไข่ 8 ตัวอย่าง รวมถึงการรักษามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก 9 ตัวอย่าง ) ผู้ป่วยเหล่านี้ถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่ 1 การประเมินรอบด้านจากการยอมรับผลวินิจฉัยแต่ละระยะในครั้งแรก (15 ตัวอย่าง)กลุ่มที่ 2 การตอบสนองหลังการประเมินการรักษาด้วยการใช้ PET-CT สแกน

  ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า 7.5% (3 ตัวอย่าง) ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้น 32.5% โรคของผู้ป่วยได้รับการบรรเทา ผู้ป่วยที่เหลือมีอาการที่ค่อนข้างทรงตัว จากผล PET-CT สแกน แพทย์ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาของผู้ป่วยรายหนึ่งในจำนวนทั้งหมด โดยเปลี่ยนจากการรักษาแบบให้หายขาดมาเป็นการรักษาแบบประคับประคอง และนำการรักษาแบบให้หายขาดมาใช้กับผู้ป่วยอีก 8 คนที่เหลือซึ่งมะเร็งยังไม่มีการลุกลามไปต่อมน้ำเหลือง นอกจากนี้ 20% ของผู้ป่วย (ตัวอย่าง 8 คน) ที่ตรวจ PET-CT สแกนแล้วพบว่าสภาวะของต่อมน้ำเหลืองก่อนหน้าการถ่ายภาพกายวิภาคกับสภาพต่อมน้ำเหลืองในปัจจุบันมีความแตกต่างกัน ทำให้แพทย์หันมาปรับเปลี่ยนปริมาณของยาและตำแหน่งของการฉายรังสีอีกครั้ง เพื่อลดผลข้างเคียงที่ไม่จำเป็น

  หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวแพทย์หญิงไต้เหวินเยี่ยน ได้มาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเรื่องนี้

  เทคโนโลยี PET-CT สแกน สามารถวินิจฉัยมะเร็งในระยะแรก แยกแยะระยะของมะเร็ง สามารถตรวจหาอาการเริ่มแรกก่อนได้รับหลักฐานแสดงผลภาพถ่ายกายวิภาค กระทั่งสามารถตรวจพบเนื้องอกที่มีขนาดเล็กกว่า 2 มิลลิเมตร ในขณะเดียวกัน PET-CT ยังสามารถแยกแยะว่ามีการกำเริบของเนื้องอกหรือไม่ ค้นหาตำแหน่งที่ก่อให้เกิดโรคและตำแหน่งของการแพร่กระจาย เพื่อการฉายรังสีได้ตรงเป้าหมายและแม่นยำ รวมถึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการการตรวจวัดประสิทธิภาพการรักษา

  หลักการการทำงานของ PET-CT สแกนคือ หลังจากฉีดสารเพื่อแสดงให้เห็นภาพในร่างกายของผู้ป่วยแล้ว PET-CT สแกนสามารถที่จะสร้างภาพสะท้อนสภาพร่างกายของผู้ป่วย ภาพที่สร้างขึ้นสามารถอธิบายผลขั้นตอนทางเคมีชีวภาพต่อโรคได้เป็นอย่างดี

  การประเมินและข้อมูลการจัดการรักษาที่ได้จาก PET-CT สแกนจะมีมากกว่าการรักษาด้วย PET หรือ CT อย่างเดียว ปัจจุบันมีการรักษาที่ล้ำหน้าเกินกว่าการใช้ PET และ CT เพียงอย่างเดียว ทั้งยังครอบคลุมการทำงานคุณภาพสูงทั้งหมดของ CT ที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์ รวมถึงครอบคลุมการทำงานของ PET อย่างสมบูรณ์อีกด้วย----สามารถสแกน CT ทั่วทั้งร่างกายในเวลา 20 นาที ให้ประสิทธิภาพมากกว่า 60% เมื่อเปรียบเทียบกับการทำ PET เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังสามารถแสดงภาพการทำงานของเลือดที่ไปเลี้ยงเซลล์สมองและกล้ามเนื้อหัวใจได้อย่างรวดเร็ว และความแม่นยำมากกว่า CT

  หัวหน้า ผู้เชี่ยวชาญไต้ ชี้ให้เห็นว่า หลังจากที่โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวนำเข้าเครื่อง PET-CTผู้ป่วยจำนวนมากที่มีการเปลี่ยนแปลงแผนการรักษาหลังจากได้รับการวินิจฉัยที่แม่นยำจากเครื่อง PET-CT และ PET-CT ยังสามารถประเมินประสิทธิการรักษาได้อย่างแม่นยำ ปรับปรุงวิธีการรักษาและตรวจคัดกรองยาที่ใช้รักษา หลีกเลี่ยงการรักษาที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยรวมแล้วสามารถประหยัดค่ารักษาได้เป็นจำนวนมาก และประหยัดเวลาอันมีค่าไว้ การวิจัย ASCO รวมไปถึงกรณีตัวอย่างในการรักษาสามารถพิสูจน์แล้วว่าเทคโนโลยีPET-CT สแกนมีความหมายต่อการรักษาอย่างมาก ช่วยให้ผู้ป่วยจำนวนมากได้รับประโยชน์จากการใช้ PET-CT

มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอด
มะเร็งตับ
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระดูก
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งตับอ่อน
มะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งสมอง
มะเร็งช่องปาก
มะเร็งท่อน้ำดี
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
มะเร็งคอ
มะเร็งถุงน้ำดี
มะเร็งช่องคลอด
มะเร็งองคชาติ
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มะเร็งโพรงจมูก
มะเร็งลำไส้เล็ก
มะเร็งไต
มะเร็งทวารหนัก
มะเร็งอัณฑะ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Multiple myeloma
มะเร็งต่อมหมวกไต
มะเร็งกระดูกสันหลัง
มะเร็งลำไส้
มะเร็งตา
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน
มะเร็งลิ้น
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งรังไข่
มะเร็งต่อมไทรอยด์
อาการโรคมะเร็ง การวินิจฉัยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง
ผู้สื่อข่าวสำนักพิมพ์ไทยรัฐประเทศไทย เดินทางไปสัมภาษณ์โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวถึงเมืองกวางเจา และเห
โครงการ 2,000,000 บาท ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งของมูลนิธิบ่ออ้าย (ประเทศไทย)
งานมอบรางวัล “ผู้กล้าสู้มะเร็งประจำเดือนมีนาคม”
ผู้บริหารของโรงพยาบาลเราได้พบคุณห่าวซีซานสมาชิกสถาบันด้านวิศวกรรมแห่งประเทศจีน เพื่อเสาะหาความร่วมมือและการพัฒนา
กลุ่ม MDT ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีสุขภาพที่แข็งแรงและกลับมามีความมั่นใจอีกครั้ง
นำโรงพยาบาลเข้าสู่มาตรฐาน JCI ยกระดับให้โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว
สุขไปกับชีวิตสายการแพทย์ เติมเต็มคุณค่าของชีวิต
การฝังแร่ไอโอดีน เสียงสวรรค์ของผู้ป่วยมะเร็ง --การประชุมใหญ่ด้านเทคโนโลยีการรักษามะเร็งด้วยการฝังแร่ไอโอดีนครั้งที่ 13 ณ ประเทศจีน