วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556 คณะนักข่าวไทยจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ สำนักข่าว TNN และหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เป็นต้น ได้มาเยี่ยมชมและสัมภาษณ์ที่โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเป็นเวลาสองวัน โดยมีผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวหวังหวยจง รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลเฉินปิง หัวหน้าแพทย์ฉินจู่เซวียน หัวหน้าแพทย์เหอเลี่ยงโฉง และหัวหน้าแพทย์หยางจินน่า เป็นต้น ต้อนรับแขกที่มาเยือนอย่างอบอุ่น
เพื่อให้คณะนักข่าวไทยได้เข้าใจเทคโนโลยีการรักษาแบบบาดแผลเล็กของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวโดยตรงและเจาะลึกยิ่งขึ้น โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวจึงได้เตรียมการถ่ายทอดสดเทคโนโลยีการรักษาแบบบาดแผลเล็กด้วยวิธีการฝังแร่ไอโอดีนและการให้คีโมเฉพาะจุดให้ชม เพื่อให้พวกเขาเข้าใจขั้นตอนและจุดสำคัญในการรักษาแบบบาดแผลเล็กได้โดยตรง ในระหว่างการถ่ายทอดสด หัวหน้าแพทย์เผิงและหัวหน้าแพทย์หวังหรงหัวยังได้รวมเอาตัวอย่างที่ใช้เทคโนโลยีการรักษาทั้งสองแบบนี้พร้อมอธิบายถึงวิธีการอย่างละเอียด อีกทั้งยังตอบทุกคำถามที่นักข่าวสงสัย
การรักษาด้วยวิธีฝังแร่ไอโอดีนอยู่ในระดับเดียวกับยุโรปและอเมริกา
เริ่มแรก หัวหน้าแพทย์เผิงได้แนะนำสภาพร่างกายของผู้ป่วยที่จะทำการผ่าตัดและหลักการการรักษาด้วยวิธีฝังแร่ไอโอดีน “นั่นคือผู้ป่วยมะเร็งตับอายุ 55 ปี จากอินโดนีเซีย ก้อนเนื้อตรงตับผ่านการรักษาโดยการใช้ความเย็นและสลายตัวไปแล้ว ตอนนี้จุดสำคัญคือการฝังแร่ไอโอดีนที่ก้อนเนื้อตรงต่อมน้ำเหลืองหลังเยื่อบุช่องท้อง ตามที่ทราบกันว่า การฝังแร่ไอโอดีนจะอาศัยการนำของเครื่อง CT หรือเครื่องอัลตราซาวด์หาตำแหน่ง และใช้อุปกรณ์พิเศษในการนำแร่ไอโอดีนฝังเข้าไปในจุดที่เป็นก้อนเนื้อ แร่ไอโอดีนเหล่านี้จะปล่อยรังสีแกมม่าระยะสั้นอย่างต่อเนื่องเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง ซึ่งเป็นการปล่อยรังสีภายในจุดที่เป็นมะเร็ง จึงไม่ทำลายเซลล์ปกติรอบนอก หลังจากฝังแร่ไอโอดีนแล้ว ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกอะไร สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่เหมือนกับการผ่าตัดออกไปซึ่งจะทำให้เกิดบาดแผลใหญ่และเจ็บปวด”
ตามที่ได้ทราบข่าวมานั้น เทคโนโลยีการฝังแร่ไอโอดีนได้รับการยอมรับจากทั่วโลก สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศสก็ใช้วิธีนี้ในการรักษาเช่นกัน ทั้งยังได้รับผลการรักษาที่ดีมาก ปัจจุบันเทคโนโลยีการฝังแร่ไอโอดีนของประเทศจีนนั้นอยู่ในระดับเดียวกับยุโรปและอเมริกา และได้ช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งในการต่อสู้กับมะเร็งจำนวนนับไม่ถ้วน
การรักษาด้วยการอุดหลอดเลือดและการให้คีโมเฉพาะจุดมีประสิทธิผลในการยืดอายุออกไป
รอบที่สองของการถ่ายทอดการรักษาคือการให้คีโมเฉพาะจุด หัวหน้าแพทย์หวังหรงหัวแนะนำว่า นั่นคือผู้ป่วยมะเร็งตับ ก้อนเนื้อที่ตับมีขนาดใหญ่มาก ไม่สามารถผ่าตัดก้อนเนื้อออกไปได้แล้ว ด้วยเหตุนี้จึงทำได้แค่การรักษาแบบบาดแผลเล็ก จากจุดเด่นของอาการเขา คุณหมอตัดสินใจรักษาเขาด้วยวิธีการให้คีโมเฉพาะจุด ตามที่ทราบกัน การรักษาโดยผ่านหลอดเลือด คือการให้ยาคีโมโดยสอดท่อผ่านหลอดเลือดหรือการให้ยาอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเซลล์มะเร็ง ทำให้ระดับความข้นของตัวยาตรงอวัยวะที่เป็นเป้าหมายเพิ่มขึ้น ยืดเวลาให้ตัวยาและอวัยวะเป้าหมายได้สัมผัสกัน ขณะเดียวกันก็เป็นการอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเซลล์มะเร็ง สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง บรรลุเป้าหมายที่ให้ก้อนเนื้อเล็กลง อีกด้านหนึ่ง เนื่องจากอาศัยการให้ยาคีโมผ่านทางหลอดเลือด ในเวลานี้ความข้นของยาบริเวณเลือดโดยรอบจะไม่เพิ่มขึ้น ผลกระทบต่อเซลล์ปกติจึงน้อย ปฏิกิริยาต่อต้านของผู้ป่วยหลังการรักษาก็จะน้อยลงตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการให้คีโมทั่วร่างกาย การให้คีโมผ่านหลอดเลือดจะให้บาดแผลเล็ก ผลข้างเคียงน้อย ผลการรักษาดี สามารถบรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วยโรคมะเร็งได้ ยืดอายุของผู้ป่วยออกไป ยกระดับคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น
มุ่งเน้นประสิทธิผลจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการรักษาแบบบาดแผลเล็ก
นอกจากชมการถ่ายทอดการรักษาแล้ว คณะนักข่าวไทยยังได้สัมภาษณ์หลัวซือหมิง ผู้ป่วยมะเร็งในช่องปากจากกรุงเทพฯ ประเทศไทยอีกด้วย ทำให้เข้าใจผลการรักษาจากการใช้เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็กกับตัวผู้ป่วย ดังที่ทราบว่า ก่อนหลัวซือหมิงจะเข้ารับการรักษาสามารถทานได้แต่อาหารเหลว อ้าปากลำบาก หลังจากผ่านการรักษาด้วยวิธีการให้คีโมเฉพาะจุดและการฝังแร่ไอโอดีนแล้ว ตอนนี้สามารถกลับมาการรับประทานอาหารได้เป็นปกติ ทั้งยังสามารถอ้าปากพูดเสียงดังได้แล้ว หลัวซือหมิงบอกกับเหล่านักข่าวว่า “โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวนอกจากจะมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าแล้ว การบริการทางการแพทย์ยังยอดเยี่ยมอีกด้วย คุณหมอ พยาบาลและล่ามของที่นี่ดีกับผมมาก พวกเขาดูแลผมในทุกๆ ด้านเหมือนกับคนในครอบครัว”
หลังจากชมการถ่ายทอดการรักษาแบบบาดแผลเล็กและสัมภาษณ์ผู้ป่วยแล้ว คณะนักข่าวไทยยังชื่นชมเทคโนโลยีบาดแผลเล็กของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวไม่หยุด พวกเขากล่าวว่า ที่ประเทศไทย ปัจจุบันการรักษามะเร็งมีแค่การผ่าตัด การฉายแสงและการให้คีโมเท่านั้น ไม่มีเทคโนโลยีบาดแผลเล็ก อีกทั้งการรักษาด้วยวิธีพวกนั้นยังทำให้บาดแผลใหญ่ ผลข้างเคียงสูง ทำให้ผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวดมาก คณะนักข่าวหวังว่าบทความข่าวของพวกเขา จะช่วยทำให้ผู้ป่วยมะเร็งชาวไทยเข้าใจเทคโนโลยีใหม่ของการรักษามะเร็งของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวมากยิ่งขึ้น และมอบความหวังใหม่ในการรักษามะเร็งให้กับผู้ป่วย
คณะนักข่าวไทยชมวีดีทัศน์การผ่าตัดแบบบาดแผลเล็ก
คณะนักข่าวไทยสัมภาษณ์หลัวซือหมิง ผู้ป่วยมะเร็งในช่องปากจากประเทศไทย