ความเข้าใจผิด 6 ประการ เกี่ยวกับการบรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วยมะเร็ง

การบรรเทาอาการปวดของมะเร็ง

ความเข้าใจผิดประการที่ 1:ยาแก้ปวดสามารถบรรเทาอาการปวดได้เพียงส่วนหนึ่ง

ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยควรมีความชัดเจน การบรรเทาอาการปวดเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย ความต้องการขั้นต่ำของยาแก้ปวดคือการทำให้นอนหลับได้โดยไม่มีอาการเจ็บปวด ซึ่งความต้องการที่จะปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในความหมายที่แท้จริงนั้น ประกอบด้วย นอนหลับโดยไม่ปวด พักผ่อนโดยไม่ปวด ดำเนินชีวิตโดยไม่ปวด

ความเข้าใจผิดประการที่ 2:ผลของการใช้ยาประเภทสารเข้าฝิ่น ในระยะยาว จะทำให้เกิดการ “เสพติด” ได้ การเพิ่มปริมาณของยา บ่งบอกถึงการเสพติดแล้ว

อาการเสพติดที่ว่า คือการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ความต้องการที่จะใช้ยาจะเพิ่มสูงขึ้น เป้าหมายเพื่อ "ความรู้สึกสบาย" แต่การใช้ยาบรรเทาอาการปวดไม่ได้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้ ความต้องการยาที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เป็นสัญญาณของการเสพติด เมื่ออาการเริ่มทุเลา เจ็บปวดลดลง ก็สามารถลดปริมาณการใช้ยาได้

ความเข้าใจผิดประการที่ 3:ยาฉีด (เช่น pethidine) มีประสิทธิผลดีกว่ายาเม็ด

ในความเป็นจริงยาแก้ปวดแบบเม็ดทำให้เสพติดน้อยกว่าแบบการฉีดยา สาร pethidine จะมีฤทธิ์ระงับปวดเพียง 1 ใน 10 ของมอร์ฟีนเท่านั้น และจะออกฤทธิ์แค่ 2-4 ชั่วโมง นอกจากนี้การให้ยาโดยการฉีดต้องมีความเจ็บปวดอยู่แล้ว การใช้ในระยะยาวอาจทำให้มีผลข้างเคียงต่อระบบประสาท จึงไม่ควรนำมาใช้เพื่อรักษาอาการปวดมะเร็งและรักษาอาการปวดเรื้องรัง

(หมายเหตุ: ในความเป็นจริง ให้พิษต่อร่างกาย ให้ค่อยได้ผลในการแก้ปวด และ WHO ไม่อนุญาตให้ใช้ยา pethidine ในการระงับอาการปวดจากโรคมะเร็ง)

ความเข้าใจผิดประการที่ 4:หากทนได้ก็ทน เมื่อปวดรุนแรงจึงค่อยใช้ยาแก้ปวด

ในความเป็นจริง ใช้ยาแก้ปวดในเวลาที่เหมาะสม และตรงเวลาจะปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากกว่า และมีความจำเป็นใช้ยาก็เป็นปริมาณที่น้อย ผู้ป่วยที่ไม่ใช้ยาแก้ปวดในระยะยาว มีแนวโน้มที่จะวิตกกังวล กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ทำให้มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และยังทำให้ร่างกายผอมแห้ง อ่อนเพลีย ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทนต่อการรักษาโรคในเบื้องต้นได้ (เช่น การผ่าตัด การฉายรังสี และเคมีบำบัด) การใช้ยาแก้ปวดในปริมาณที่เหมาะสม ไม่เพียงแต่จะช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย แต่ยังรวมถึงหลีกเลี่ยงระบบประสาทรับรู้ผิดปกติ อันเกิดจากความเจ็บปวดในระยะยาวอีกด้วย

ความเข้าใจผิดประการที่ 5 : การใช้ยาแก้ปวดประเภทไม่มีสารเข้าฝิ่น จะปลอดภัยกว่า

สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเรื้อรังที่ต้องใช้ยาแก้ปวดในระยะยาว การใช้ยาประเภทสารเข้าฝิ่น (เช่นมอร์ฟีน) จะปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากกว่า ผลข้างเคียงของยาไม่ใช่กลุ่มสารเข้าฝิ่นจะทำให้เกิดการมองข้ามได้ง่าย และฟทธิ์ของมันก็มี “ประสิทธิผลที่จำกัด” สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดมะเร็งปานกลางจนถึงรุนแรง ยาในกลุ่มสารเข้าฝิ่นจะให้ประสิทธิภาพที่ยาไม่สามารถแทนกันได้

ความเข้าใจผิดประการที่ 6: ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ใช้มอร์ฟีนหมายความว่ากำลังเผชิญหน้ากับความตาย

ผู้ป่วยบางคนคิดว่าการใช้ยาแก้ปวด หมายถึง อาการอยู่ในระยะสุดท้ายแล้วหรือกระทั่งคิดว่ากำลังเผชิญกับความตายแล้ว ทำให้ขาดกำลังใจในการรักษาและมีชีวิตอยู่รอดต่อไป ในความเป็นจริงของการใช้ยาแก้ปวดไม่ได้กำหนดโดยขึ้นกับระยะเวลาสั้นยาวที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่รอดของผู้ป่วย แต่การตัดสินใจขึ้นอยู่กับระดับของความเจ็บปวด ความเจ็บปวดเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นในมะเร็งระยะต่างๆ และจากสถิติในทางการรักษาชี้ว่า การใช้ยากลุ่มสารเข้าฝิ่นอย่างถูกต้อง จะช่วยยืดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งได้ เพราะยาแก้ปวดช่วยให้ผู้ป่วยไม่มีอาการปอด ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น มีความอยากอาหารมากขึ้น และทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอด
มะเร็งตับ
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระดูก
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งตับอ่อน
มะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งสมอง
มะเร็งช่องปาก
มะเร็งท่อน้ำดี
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
มะเร็งคอ
มะเร็งถุงน้ำดี
มะเร็งช่องคลอด
มะเร็งองคชาติ
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มะเร็งโพรงจมูก
มะเร็งลำไส้เล็ก
มะเร็งไต
มะเร็งทวารหนัก
มะเร็งอัณฑะ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Multiple myeloma
มะเร็งต่อมหมวกไต
มะเร็งกระดูกสันหลัง
มะเร็งลำไส้
มะเร็งตา
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน
มะเร็งลิ้น
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งรังไข่
มะเร็งต่อมไทรอยด์
อาการโรคมะเร็ง การวินิจฉัยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง
ผู้สื่อข่าวสำนักพิมพ์ไทยรัฐประเทศไทย เดินทางไปสัมภาษณ์โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวถึงเมืองกวางเจา และเห
โครงการ 2,000,000 บาท ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งของมูลนิธิบ่ออ้าย (ประเทศไทย)
งานมอบรางวัล “ผู้กล้าสู้มะเร็งประจำเดือนมีนาคม”
ผู้บริหารของโรงพยาบาลเราได้พบคุณห่าวซีซานสมาชิกสถาบันด้านวิศวกรรมแห่งประเทศจีน เพื่อเสาะหาความร่วมมือและการพัฒนา
กลุ่ม MDT ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีสุขภาพที่แข็งแรงและกลับมามีความมั่นใจอีกครั้ง
นำโรงพยาบาลเข้าสู่มาตรฐาน JCI ยกระดับให้โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว
สุขไปกับชีวิตสายการแพทย์ เติมเต็มคุณค่าของชีวิต
การฝังแร่ไอโอดีน เสียงสวรรค์ของผู้ป่วยมะเร็ง --การประชุมใหญ่ด้านเทคโนโลยีการรักษามะเร็งด้วยการฝังแร่ไอโอดีนครั้งที่ 13 ณ ประเทศจีน